Monday, November 26, 2012

การบัญชีต้นทุน


 
การบัญชีต้นทุน : โดยอาจารย์อนุรักษ์  ทองสุโขวงศ์
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชีต้นทุน
 ความหมายและวัตถุประสงค์การบัญชีต้นทุน
          การบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) จัดเป็นวิธีการทางบัญชีที่ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลทางด้านต้นทุนของธุรกิจ ประเภทอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์พื้นฐานในการจัดทำรายงานทางการเงินตลอดจนวิเคราะห์ และจำแนกข้อมูลเพื่อใช้ในการบริหารต้นทุน (Cost Management) ตามความต้องการของผู้บริหาร ในปัจจุบันนี้ไม่ใช่แต่กิจประเภทอุตสาหกรรมเท่านั้น ที่จะต้องใช้วิธีการทางบัญชีหรือข้อมูลของบัญชีต้นทุน แต่ยังมีธุรกิจอีกหลายประเภท เช่น โรงแรม โรงพยาบาล โรงเรียน มหาวิทยาลัย ธนาคาร บริษัทเงินทุน บริษัทสายการบิน และกิจการอื่น ๆ  อีกมากมายที่ได้มีการนำวิธีการบัญชีต้นทุนไปประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร อย่างไรก็ตามวัตถุประสงค์ที่สำคัญของข้อมูลทางบัญชีต้นทุนพอสรุปได้ดังนี้
            1.1 เพื่อให้ทราบถึงต้นทุนการผลิต ตลอดจนต้นทุนขาย (Cost of goods sold) ประจำงวด ซึ่งจะนำไปหักออกจากรายได้ในงบกำไรขาดทุน เพื่อะช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการว่ามีผลกำไรหรือขาด ทุนอย่างไร
            1.2 เพื่อใช้ในการตีราคาสินค้าคงเหลือ (Inventory Evaluation) ในธุรกิจอุตสาหกรรม สินค้าคงเหลือที่จะปรากฏในงบดุลจะประกอบด้วย วัตถุดิบ งานระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป ซึ่งการแสดงมูลค่าของสินค้าคงเหลือเหล่านี้ได้อย่างถูกต้อง หรือใกล้เคียงความเป็นจริงมากที่สุดจำเป็นต้องอาศัยวิธีการทางบัญชีต้นทุนที่มีประสิทธิภาพ
            1.3 เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตัดสินใจวางแผนและควบคุม (Planning and Control) ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารสามารถดำเนินธุรกิจไปอย่างมีแบบแผน และบรรลุเป้าหมายตามความต้องการของธุรกิจในที่สุด นอกจากนี้ข้อมูลทางบัญชีต้นทุนยังช่วยให้ผู้บริหารได้ทราบถึงความผิดพลาด หรือจุดบกพร่องในการดำเนินธุรกิจ เพื่อหาทางกำหนดวิธีการปฏิบัติเพื่อแก้ไขเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ได้อย่าง ทันท่วงที
            1.4 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ปัญหาเพื่อตัดสินใจ(Decision Making) ทั้งนี้ในการดำเนินธุรกิจ ผู้บริหารมักจะต้องประสบปัญหาที่จะต้องทำการแก้ไขอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นปัญหาในระยะสั้น หรือปัญหาที่จะส่งผลกระทบในระยะยาวก็ตาม เช่น การตัดสินใจเกี่ยวกับการรับใบสั่งซื้อพิเศษ การปิดโรงงานชั่วคราว การเพิ่ม ลดรายการผลิต การตั้งราคาสินค้า การวิเคราะห์กำไร การกำหนดกลยุทธ์ในการประมูลงาน เป็นต้น
            ขอบเขตของหลักการบัญชีได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ บัญชีการเงิน (Financial accounting ) และบัญชีต้นทุน (Cost Accounting) ซึ่งบัญชีการเงิน นั้นค่อนข้างที่จะมีขอบเขตกว้าง เนื่องจากเป็นบัญชีที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก เช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ เป็นต้น การวิเคราะห์งบการเงินจึงเป็นเครื่องมือที่จะให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่บุคคลต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น นักลงทุนก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในธุรกิจใดก็จะต้องทำการวิเคราะห์งบการเงินของกิจการหรือธุรกิจนั้น ๆ เสียก่อน ทั้งนี้ เพื่อจะได้ทราบถึงความเสี่ยง และความเป็นไปได้ที่จะตัดสินใจลงทุนในธุรกิจนั้น เป็นต้น และด้วยเหตุผลที่ว่า งบการเงินนี้จะต้องจัดทำขึ้นเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอก ซึ่งจะนำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ของการตัดสินใจที่แตกต่างกัน ดังนั้น งบการเงินนี้จึงต้องจัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองโดยทั่วไป (Generally Accepted Accounting Principles : GAAP)  และจากการจัดทำงบการเงินภายใต้หลักการบัญชีที่ยอมรับกันทั่วไปนี้เอง จึงทำให้ข้อมูลทางการเงินที่ปรากฏในงบการเงินเป็นข้อมูลในอดีตทั้งสิ้น ทั้งนี้เพราะการจัดทำงบการเงินที่เสนอต่อบุคคลภายนอกนี้ควรจะมีความถูกต้องแน่นอน มีหลักฐาน และเชื่อถือได้นั่นเอง
            บัญชีต้นทุน เป็นหลักการบัญชีที่เกี่ยวกับการสะสมและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของ ฝ่ายบริหาร ทั้งเพื่อการวางแผน ควบคุม และการตัดสินใจในเรื่องอื่น ๆ โดยปกติแล้วการบัญชีต้นทุนจะทำหน้าที่หลักในการสะสมข้อมูลทางด้านต้นทุนที่ เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เพื่อคำนวณหาต้นทุนของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งใช้ประมาณมูลค่าของสินค้าคงเหลือ นอกจากนี้การบัญชีต้นทุนยังเป็นส่วนที่เกี่ยวข้องกับการประมาณหรือการ พยากรณ์ต้นทุนที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเพื่อการตัดสินใจอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้เองจึงทำให้การบัญชีต้นทุนเข้ามามีบทบาทเพื่อการตัดสินใจของ ฝ่ายบริหาร ในปัจจุบันนี้การพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมและการผลิตได้มีการพัฒนาเปลี่ยนแปลง ไปอย่างมาก เช่น การนำเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต เป็นต้น การนำบัญชีต้นทุนเข้ามาใช้เพื่อทำหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางด้านต้น ทุนที่ถูกต้อง และมีความสามารถที่จะให้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแก่ฝ่ายบริหารได้อย่างรวด เร็ว ทันสมัย และเชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งที่นักบัญชีต้นทุนจะต้องมีความเข้าใจ และสามารถที่จะประยุกต์การบัญชีต้นทุนให้ใช้ได้กับลักษณะของธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
            จากขอบเขตหน้าที่ความรับผิดชอบของการบัญชีการเงิน และการบัญชีต้นทุน ทำให้เราสามารถสรุปถึงความสัมพันธ์ระหว่างการบัญชีการเงินและการบัญชีต้นทุนได้ 2 ลักษณะ ดังนี้
1) การคำนวณต้นทุนขาย (Cost of Goods sold)
การจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบ ประการสำคัญของการบัญชีการเงิน ในกรณีที่กิจการเป็นธุรกิจซื้อขายสินค้าโดยทั่วไปการคำนวณต้นทุนขายเพื่อ แสดงเป็นค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุนก็สามารถกระทำได้โดยไม่ต้องอาศัยหลักการ บัญชีต้นทุน แต่ในกรณีที่กิจการมีลักษณะเป็นธุรกิจผลิตสินค้า การคำนวณต้นทุนขายจำเป็นต้องอาศัยหลักการบัญชีต้นทุนในการคำนวณต้นทุนการ ผลิตของสินค้าที่ผลิตได้เพื่อขาย ซึ่งสามารถทำความเข้าใจได้จากการเปรียบเทียบการคำนวณต้นทุนขายต่อไปนี้
ธุรกิจซื้อขายสินค้า
 
ธุรกิจผลิตสินค้า
 
 
 
สินค้าคงเหลือต้นงวด
xxx
 
สินค้าสำเร็วรูปคงเหลือต้นงวด
xxx
บวก : ซื้อสินค้า(สุทธิ)
xxx
 
บวก : ต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูป
xxx
สินค้าที่มีไว้ขายทั้งสิ้น
xxx
 
สินค้าสำเร็จรูปที่มีไว้ขายทั้งสิ้น
xxx
หัก : สินค้าคงเหลือปลายงวด
xxx
 
หัก : สินค้าสำเร็จรูปคงเหลือปลายงวด
xxx
ต้นทุนขาย
xxx
 
ต้นทุนขาย
xxx

การจัดทำงบกำไรขาดทุน สำหรับธุรกิจซื้อขายสินค้า และธุรกิจผลิตสินค้าในส่วนอื่น ๆ ไม่มีความแตกต่างกัน คำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าสำเร็จรูปจะขออธิบายในส่วนต่อไป
2) การแสดงสินค้าคงเหลือ (Inventories)
งบดุล (Balance Sheet) เป็นงบการเงินชนิดหนึ่งที่การบัญชีการเงินมีหน้าที่ความรับผิดชอบที่จะต้อง แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับฐานะการเงินของกิจการให้มีความถูกต้อง เที่ยงธรรม และเชื่อถือได้มากที่สุด ในส่วนที่การบัญชีต้นทุนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องก็คือการแสดงมูลค่าสินค้า คงเหลือ ในหมวดของสินทรัพย์หมุนเวียน ซึ่งจะต้องใช้หลักการบัญชีต้นทุนในการรวบรวมข้อมูลและคำนวณต้นทุนของสินค้า คงเหลือ ซึ่งประกอบด้วย วัตถุดิบ งานระหว่างผลิต และสินค้าสำเร็จรูป
ธุรกิจซื้อขายสินค้า
 
ธุรกิจผลิตสินค้า
 
 
 
สินทรัพย์หมุนเวียน :
 
 
สินทรัพย์หมุนเวียน :
 
เงินสด
xxx
 
เงินสด
xxx
ลูกหนี้
xxx
 
ลูกหนี้
xxx
สินค้าคงเหลือ
xxx
 
สินค้าคงเหลือ  :
 
 
 
 
     สินค้าสำเร็จรูป
xxx
 
 
 
     งานระหว่างผลิต
xxx
 
 
 
     วัตถุดิบ
xxx
เมื่อได้ทราบถึงความสัมพันธ์ที่การบัญชีต้นทุนมีต่อการบัญชีการเงินแล้ว ขอให้สังเกตว่าในการทำหน้าที่ของการบัญชีต้นทุนนำเสนอข้อมูลให้แก่การบัญชี การเงินที่ต้องการข้อมูลที่มีความถูกต้องแม่นยำและเชื่อถือได้ เพื่อเสนอข้อมูลให้แก่บุคคลภายนอก ดังนั้น การคำนวณต้นทุนการผลิตของสินค้าที่จะนำไปคำนวณต้นทุนขายในงบกำไรขาดทุน หรือแสดงมูลค่าสินค้าคงเหลือในงบดุล ที่ถือเป็นหน้าที่ของการบัญชีต้นทุนจึงต้องมีลักษณะเป็นหลักการบัญชีหรือ วิธีการที่มีกฎเกณฑ์ที่ถูกต้องและเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
เนื่องจากคำว่า บัญชีต้นทุน และ บัญชีบริหาร มีความหมายและลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก ดังนั้นเราจะพบวาในบางครั้งการใช้คำทั้งสองก็มักจะมีการใช้แทนกันอยู่ตลอด เวลา แต่โดยทั่วไปการบัญชีต้นทุนมีขอบเขตเพียงในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคำนวณหา ต้นทุนการผลิตของสินค้าหรือบริการเท่านั้น
ส่วนคำว่า บัญชีบริหาร หมายถึง กระบวนการที่เกี่ยวกับ
1) การรับรู้และประเมินภาวการณ์ของการดำเนินธุรกิจ และภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ เพื่อนำมากำหนดวิธีการปฏิบัติทางบัญชีที่เหมาะสม
2) การวัดและประมาณภาวการณ์ในการดำเนินธุรกิจ และภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นแล้วและยังไม่เกิดขึ้น
3) การกำหนดวิธีการในการจดบันทึกและเก็บสะสมรวบรวมข้อมูลในการดำเนินธุรกิจ และภาวการณ์ทางเศรษฐกิจอื่น ๆ  เพื่อประโยชน์ในการตัดสินใจเชิงการบริหาร
4) การวิเคราะห์และการกำหนดวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลที่เหมาะสมกับการตัดสินใจ
5) การตีความและการเสนอข้อมูล
6) การติดต่อสื่อสาร นั่นคือการจัดทำรายงานที่เหมาะสมต่อบุคคลที่ต้องการ กล่าวคือ รายงานภายในก็จะเสนอต่อฝ่ายบริหาร รายงานภายนอกก็จะเสนอต่อบุคคลทั่วไป
ดังนั้น การบัญชีบริหาร คือ กระบวนการทางบัญชีที่มุ่งไปในส่วนของการนำข้อมูลทางบัญชีการเงิน และบัญชีต้นทุน มาทำการวิเคราะห์ และแปลความหมายเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร ทั้งในด้านการวางแผน การควบคุม การประเมินและวัดผลการดำเนินงานของบุคคลในองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ ในองค์กร แต่โดยส่วนใหญ่ข้อมูลที่มีบทบาทสำคัญต่อการบริหารกิจการก็คือ ข้อมูลทางด้านต้นทุน (Cost Information) ดังนั้น จึงทำให้เกิดความเข้าใจโดยทั่วไปว่าการบัญชีบริหารก็คือการบัญชีต้นทุน แต่ในทางหลักการที่ถูกต้องแล้วการบัญชีต้นทุนเป็นส่วนหนึ่งของการบัญชีบริหารเท่านั้น ซึ่งความสัมพันธ์ของการบัญชีการเงิน การบัญชีต้นทุน และการบัญชีบริหาร สามารถแสดงได้ ดังภาพ


การตรวจสอบและรับรองบัญชี

                                              การตรวจสอบและรับรองบัญชี

           การตรวจสอบและรับรองบัญชี เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรนั้น ได้กำหนดให้มีขึ้นตั้งแต่ปี 2496 เป็นต้นมา โดยได้มีการเพิ่มบทบัญญัติมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร

ในเบื้องต้น กรมสรรพากรยังไม่ได้กำหนดบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มี หน้าที่ต้องจัดทำบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีเพื่อการยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษี เงินได้นิติบุคคลจากฐานกำไรสุทธิ หรือแบบ ภ.ง.ด. 50

ต่อ มาในปี 2523 อธิบดีกรมสรรพากร ได้ออกประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชี เรื่องกำหนดระเบียบเกี่ยวกับการตรวจสอบและรับรองบัญชีตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2523 โดยให้มีผลใช้บังคับทั่วราชอาณาจักร 
สำหรับ การตรวจและรับรองบัญชีเพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมินพร้อมกับแบบแสดงรายการ เสียภาษีเงินได้ สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2523 เป็นต้นไป โดยกำหนดให้ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการผู้สอบบัญชีเป็นผู้ตรวจ สอบและรับรองบัญชีดังกล่าว 

              
ครั้น พอถึงปี 2543 กรมทะเบียน การค้าในสมัยนั้น ได้ปรับปรุงยกเลิกกฎหมาย ว่าด้วยการบัญชี หรือ ป.ว. 285 พ.ศ. 2515 โดยพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งตามมาตรา 11 วรรคท้าย ได้กำหนดให้มี การออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดจำนวนทุน สินทรัพย์และรายได้ ทุกรายการของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต  
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยการยกเว้นไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต พ.ศ. 2544 กำหนด ให้ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยที่มีทุนชำระแล้วในวัน สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธันวาคม 2545 เป็นต้นไป
ด้วย เหตุผลสำคัญประการหนึ่ง คือ ในประเทศไทยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เพียงพอที่จะให้บริการแก่ห้างหุ้นส่วน ขนาดเล็กที่งบการเงินยังไม่มีนัยสำคัญหรือมีจำนวนเงินที่มากเพียงพอแก่การ ที่ต้องตรวจสอบและรับรองบัญชี
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวไม่พ้นบ่วงกรรม แต่ต้องขอยกยอดไปสัปดาห์หน้าครับ.

----------------------------------------------------------------
    สำหรับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยขนาดเล็ก ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุนชำระแล้วในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท และมีสินทรัพย์ไม่เกิน 30 ล้านบาท และมีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาท ได้รับยกเว้น ไม่ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ในรอบระยะเวลาบัญชีที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ 31 ธ.ค. 45 เป็นต้นมา
ซึ่งมี เหตุผลสำคัญ คือ ในประเทศไทยมีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตไม่เพียงพอที่จะให้บริการ และห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็กดังกล่าวมีงบการเงินยังไม่มีนัยสำคัญหรือ มีจำนวนเงินที่มากเพียงพอแก่การที่ต้องตรวจสอบและรับรองบัญชี
คงปล่อยให้เป็นภาระความรับผิดชอบของ ผู้จัดทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนดังกล่าว ที่ต้องรับรองว่างบการเงินของห้างฯ เป็นไปตามมาตรฐาน หรือเข้า “แกป” (GAAP)
สำนวน “ทำอะไรไม่เข้าแกป” จึงหมายถึงการไม่มีมาตรฐาน หรือไม่ได้ตามมาตรฐาน เพราะ แกป หมายถึง หลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐานการบัญชี
เมื่อกฎหมายว่าด้วยการบัญชีมีผลใช้ บังคับในวันที่ 10 ส.ค.43 ก่อให้เกิดความกระเพื่อมไหวหรือมีผลกระทบต่อการบริหาร จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลของกรมสรรพากร ที่อาศัยพื้นฐานการตรวจสอบและรับรองบัญชี งบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุน โดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (ซีพีเอ) มาตั้งแต่ปี 23 จนชินว่า ต้องมีผู้ตรวจสอบและรับรองงบการเงินมาชั้นหนึ่งก่อนที่จะยื่นแบบแสดงรายการ และเสียภาษีเงินได้ให้แก่กรมสรรพากร
ดังเป็นที่ทราบกันว่า แม้จะแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้อธิบดีกรมสรรพากรมีอำนาจอนุญาตให้มีบุคคลทำการตรวจสอบและรับรอง บัญชี เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตั้งแต่ปี 2496 แล้วก็ตาม กรมสรรพากรก็มิได้ดำเนินการอะไร
หากแต่มีข้อสมมุติว่า ถ้าผู้ต้องเสียภาษีจัดทำบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป ก็จะนำไปสู่การเสียภาษีอากรที่ถูกต้องครบถ้วนได้ จึงได้กำหนดให้ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตามกฎหมายว่าด้วยการสอบบัญชี เป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีงบดุล บัญชีทำการ และบัญชีกำไรขาดทุนทางภาษีอากรอีกชั้นหนึ่ง
เมื่อทาง บัญชีมาละทิ้งห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็ก ว่าไม่ต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองบัญชีเสียแล้ว กรมสรรพากรจึงต้องลุกขึ้นมาดำเนินการอะไรกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนขนาดเล็ก ดังกล่าว
และแล้ว คำว่า “ผู้สอบบัญชีภาษีอากร” หรือ ทีเอ (Tax Auditor) ก็บังเกิดขึ้นตั้งแต่ปี 44 เป็นต้นมา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

การบัญชีเริ่มต้นได้อย่างไร
มีการพบหลักฐานว่า การบัญชีเกิดขึ้นมากว่า 4,000 ปีแล้ว สมัยนั้นได้มีการจัดทำบัญชี



สินค้า บัญชีค่าแรง และค่าภาษีอากร ในเมโสโปเตเมีย ต่อมาก่อนคริสตศตวรรษที่ 14 พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาระบบบัญชีคู่ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก แต่หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดขึ้นนั้นไม่ได้รวบรวมไว้จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1494 นาย FRA LUCA PACIOLI ชาวอิตาเลี่ยน ได้แต่งหนังสือชื่อ เรียกสั้น ๆ ว่า “Summa” เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรารวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาการบัญชี” ต่อมาราวคริสตศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มีการลงทุนกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีการลงทุนร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดที่จะบันทึกบัญชีกิจการแยกต่างหากจากเจ้าของ เพื่อจะได้ทราบว่าใครลงทุนเท่าใด และมีสิทธิส่วนได้ ส่วนเสียในกิจการเท่าใด นอกจากนั้นยังมีการจัดทำงบการเงินเพื่อรายงานถึงผลการดำเนินงานและฐานะของ ธุรกิจให้ผู้ร่วมลงทุนได้ทราบ ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

ความหมายของการบัญชี



คำว่า “การบัญชี” (Accounting) มีการให้คำจำกัดความไว้หลายบุคคล ซึ่งสามารถสรุปได้พอสังเขป ดังนี้
การบัญชี (Accounting) คือ ขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูลทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534)
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of Ceritfied Accountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐ อเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
” Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof.”
จากคำนิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย


การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ
2 ประการ คือ
1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลัก



ฐานข้อมูลที่เกี่ยว กับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น

1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงาน ทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไป ของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้าน การเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น

ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี



1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้

2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด
3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าได้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ

งานมอบหมาย

การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)

การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)


ภาพ your accounting
ที่มา financial-accounting-software.info

          คือ "การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ"

          คำว่า  การบัญชี หรือ ภาษาอังกฤษ ที่เรียกกันว่า Accounting สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การ บัญชี คือ ศิลปะของการเก็บรวมรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ”
จากความหมายของการบัญชีดังกล่าว เราสามารถสรุปขั้นตอนของการบัญชีได้ 5 ขั้นตอน คือ


ภาพ the recording and classifying and summarising of data
ที่มา edu.iluvislam.com

          1.การเก็บรวมรวม (Gathering) ข้อมูลทางการเงิน หรือที่เรียกว่ารายการค้า (Transaction) ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

          2.การจดบันทึก (Recording) รายการค้าหรือเหตุการณ์ทางการเงินทุกรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุด บัญชีขั้นต้น นั้นๆ ซึ่งในการจดบันทึกจะต้องอาศัยเอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกรายการด้วย เช่น ใบเสร็จรับเงิน

          3.การจำแนก (Classifying) เมื่อมีการบันทึกรายการบัญชีในสมุดบัญชีขั้นต้นแล้ว จะต้องมีการจัดรายการโดยการแยกออกเป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีขั้นปลาย เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย

          4.การสรุปผล (Summarizing) หลังจากที่ได้มีการจดบันทึกรายการค้าหรือเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆที่เกิด ขึ้น ผ่านไประยะหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ จึงต้องแสดงออกมาในรูปของงบการเงิน เช่น “งบกำไรขาดทุน” (Income Statement) และ“งบกำไรขาดทุน”(Income Statement)

          5.การวิเคราะห์และแปลความหมาย (Analysis and Interpreting) ข้อมูลทางการบัญชีที่ได้รับจากการสรุปผล เป็นขั้นตอนของการนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจ เช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งการการวิเคราะห์และแปลความหมายก็อาจแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ของนักบัญชีแต่ละคน

          และมีข้อสังเกตถึงคำที่มักใช้สับสนกัน นั้นก็คือคำว่า “การบัญชี (Accounting)” และ “การทำบัญชี (Book keeping)” ซึ่งแท้จริงแล้ว แตกต่างกัน เพราะคำว่า“การทำบัญชี (Book keeping)” คือ การจดบันทึกรายการลงในสมุดบัญชี จำแนกรายการบัญชี และสรุปรายการบัญชีโดยจัดทำงบการเงินเท่านั้น จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งหมายรวมทั้งระบบบัญชี

คณะนี้เรียนอะไร ?           การเรียนในคณะทางด้านบัญชี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะในการบันทึกรายการทางการค้าที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ให้เป็นหมวดหมู่และง่ายต่อการนำไปใช้ รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลทางการเงิน เพื่อใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจทางธุรกิจ


ภาพ คณะบัญชี สถาบันต่างๆ

          คณะบัญชีได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิตสำหรับนักศึกษาหลัก สูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง แตกต่างกันตามความเหมาะสม และวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบัน แต่ย่อมมีความสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน และเพื่อความเชี่ยวชาญจึงมีทั้งการเรียนด้านวิชาการใน เน้นการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้งานได้จริง รวมทั้งการเรียนรู้ ที่ให้ประสบการดูงานจากธุรกิจจริง และเพื่อเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตเพราะอาชีพนี้ไม่น้อยทีเดียวต้องไปทำงานกับ บริษัทเอกชนที่เป็นการทำงานร่วมกับต่างชาติ บางสถาบันจึงทำการเรียนการสอนในรูปแบบเน้นทักษะทางภาษาอังกฤษ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีสาขาที่เน้นแตกต่างกันไปดังนี้

          • กลุ่มวิชาการสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎี การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานบัญชี ปัญหาในการสอบบัญชี การตรวจสอบภายใน และวิชาชีพการสอบบัญชี
          • กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี รวมทั้งการออกแบบวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลทางบัญชี โดยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี
          • สาขาวิชาการต้นทุน จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีรวมทั้งระบบบัญชีรวมทั้งระบบวิธีการบัญชีต้นทุน และการวิเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลทางบัญชี
          • การบัญชีภาษีอากร ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากร
          • การบัญชีการเงิน จะเน้นเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี ในการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน เพื่อนักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำงบการเงิน
          • การบัญชีการบริหาร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร สอนหลักและทฤษฎีการคำนวณต้นทุนและกำไร รวมทั้งการฝึกงานให้มีความสามารถในการนำบัญชีไปสู่การวางแผนบริหารจัดการ องค์กร

ตัวอย่างวิชาที่เรียน


ภาพ Financial and Managerial Accounting Value Pack
ที่มา
www.pearsonhighered.com

          การบัญชีขั้นกลาง 1(Intermediate Accounting 1)
          การบัญชีขั้นกลาง 2(Intermediate Accounting 2)
          การบัญชีขั้นสูง1(Advanced Accounting 1)
          การบัญชีต้นทุน(Cost Accounting)
          การบัญชีบริหาร(Management Accounting)
          การบัญชีภาษีอากร(Tax  Accounting)
          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี(Accounting Information Systems)
          การสอบบัญชี(Auditing)
          การตรวจสอบภายใน(Internal Audit )
          สัมมนาการบัญชีการเงิน(Seminar in Financial Accounting)
          การตรวจสอบการทุจริต(Forensic Auditing)
          กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการบัญชี(Legal Aspects of Accounting Profession)
          กฎหมายธุรกิจและการภาษีอากรสำหรับธุรกิจต่างด้าว(Business Law and Taxation for International Business)
          การวางแผนภาษีอากร(Tax Planning)
          กฎหมายและการภาษีอากรสำหรับธุรกิจส่งออกและธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
          (Business Law and Taxation for Export and Board of Investment)
          การบัญชีเพื่อการวางแผนและควบคุม(Accounting for Planning and Control)
          การบัญชีสิ่งแวดล้อม(Environmental  Accounting)
          การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์(Strategic Cost Management)
          การวิเคราะห์โครงการ(Project  Analysis)
          การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์(Strategic Cost Management)
          การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information Systems  Design and Analysis)
          การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลทางการบัญชี(Accounting Database Design and Analysis)
          การสื่อสารข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจ(Business Information and Communication)
          สัมมนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี(Seminar in Accounting Information Systems)
          การบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ (LIABILITIES AND EQUITY ACCOUNTING)
          การบัญชีหน่วยงานภาครัฐ (GOVERNMENTAL ACCOUNTING)
          การบัญชีธนาคารพาณิชย์ (COMMERCIAL BANK ACCOUNTING)
          การบัญชีเฉพาะกิจการ (SPECIALIZED ACCOUNTING)

โอกาสในอาชีพการงาน
ทุกกิจการต้องมีการบันทึกบัญชี และนี่คืองานที่ผู้เรียนบัญชีสามารถทำงานได้ เช่น

          อย่างงานทั่วๆไปก็คือ เป็นพนักงานบัญชีและการเงิน สมุห์บัญชี เมื่อมีประสบการณ์และความสามารถมากขึ้นก็อาจจะก้าวไปเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเปิดสำนักงานรับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน(Internal Auditor) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)  ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor)  ผู้ออกแบบระบบบัญชีและการควบคุมภายใน ผู้วางแผนภาษีอากร นักบัญชีบริหาร เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่สรรพากร ที่ปรึกษาการบัญชีและการเงิน ที่ปรึกษาวางระบบการควบคุมภายใน นักวิชาการ อาจารย์ นักวิเคราะห์ นักวิจัย


ภาพ Internal Audit Process
ที่มา mesaaz.gov

          หากมีเงินทุนก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการเปิดสำนักงานรับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชีได้เลย
 หรือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพโดยตรง เช่น ทำงานธนาคาร  ผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบขององค์กรธุรกิจ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง
          สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          สาขาบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ
          สภาวิชาชีพบัญชี
          มาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
          รายวิชาอิเลคนิกส์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

วิชาการบัญชี

วิชาการบัญชี
                 มีการพบหลักฐานว่า การบัญชีเกิดขึ้นมากว่า 4,000 ปีแล้ว สมัยนั้นได้มีการจัดทำบัญชีสินค้า บัญชีค่าแรง และค่าภาษีอากร ในเมโสโปเตเมีย ต่อมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 14 พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาระบบบัญชีคู่ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก แต่หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดขึ้นนั้นไม่ได้รวบรวมไว้จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1494 นาย FRA LUCA PACIOLI ชาวอิตาเลี่ยน ได้แต่งหนังสือชื่อ เรียกสั้น ๆ ว่า "Summa" เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรารวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น "บิดาแห่งวิชาการบัญชี" ต่อมาราวคริสต์ศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มีการลงทุนกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีการลงทุนร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดที่จะบันทึกบัญชีกิจการแยกต่างหากจากเจ้าของ เพื่อจะได้ทราบว่าใครลงทุนเท่าใด และมีสิทธิส่วนได้ ส่วนเสียในกิจการเท่าใดนอกจากนั้นยังมีการจัดทำงบการเงินเพื่อรายงานถึงผลการดำเนินงานและฐานะของธุรกิจให้ผู้ร่วมลงทุนได้ทราบ ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

              การบัญชี (Accounting) คือ ขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูลทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534)
              สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of Ceritfied Accountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
      การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
      สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐอเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
      " Accounting is the art of recording, classifying and summarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof."
      จากคำนิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย


การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ 2 ประการ คือ
      1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
          1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลักฐานข้อมูลที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น
          1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
          1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
          1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงานทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไปของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
      2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้านการเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น


จากกระบวนการทางการบัญชีอาจแบ่งการบัญชี  ออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
              1. การบัญชีการเงิน (Financial  Accounting)  หมายถึง  การจัดทำบัญชี  และรายงานทางการเงินของกิจการที่จัดทำขึ้นตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป  หรือมาตรฐานการบัญชีสำหรับนำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินที่เป็นบุคคลภายนอกกิจการ  เช่น  นักลงทุน  เจ้าหนี้  ลูกหนี้  หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น  เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจเชิงเศรษฐกิจ
              2. การบัญชีบริหาร (Managerial  Accounting)  หมายถึง  การจัดทำข้อมูลทางการบัญชี  และรายงานทางการเงินในส่วนต่าง ๆ ของกิจการสำหรับนำเสนอต่อฝ่ายบริหารของกิจการ  เพื่อใช้ประโยชน์ในการวางแผน ควบคุม  และตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ เกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อกิจการ  การจัดทำข้อมูลทางการบัญชีบริหารนั้น จัดทำตามความต้องการของฝ่ายบริหาร  ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับ  หรือรูปแบบที่แน่นอน