Monday, January 14, 2013

นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ"

   ก่อน หน้านี้ ผมได้เขียนเรื่อง "เรียนวิชาบัญชีมีประโยชน์" ใน นสพ.เดลินิวส์ ทำให้นึกย้อนกลับไปเรื่องที่ได้ทำผ่านมากว่าสามสิบปี คือ ขณะเป็นคณบดีได้รับเชิญจาก "ชมรมบัญชีบริหาร" ให้ผมไปพูดถึงเรื่อง "โอกาสที่นักบัญชีจะเป็นนักบริหาร"
สะท้อนถึงความสำคัญและการสนใจในทักษะกับวิชาการจัดการต่างๆ โดยนักบัญชีโดยตรง
ทั้ง นี้ เป้าหมายของนักบัญชีที่เก่งและมีงานดีอยู่แล้วในสมัยนั้น ก็คือ การอยากได้รับการโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็นนักบริหารระดับสูงหรือซีอีโอ นั่นเอง
แต่ บนเส้นทางการทำงานที่เติบโตนั้น แม้นักบัญชีจะเก่งกับทำงานหนัก มีผลงานเด่นก็ตาม แต่ก็มักมีข้อจำกัดทำให้ไม่ได้ขึ้นตำแหน่งนักบริหารระดับสูงอย่างที่ต้องการ
สาเหตุ ที่ก้าวโตได้ช้าและไปได้น้อยมากนั้น สาเหตุเพราะสภาพงานที่ต้องจมอยู่กับงานภายใน ทำให้ขาดโอกาสสัมผัสกับภายนอก ที่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ทัศนภาพ การมองถูกจำกัดแคบกว่าที่ควร อีกทั้งงานบัญชีเป็นงานหนัก ทำให้ไม่อาจมีเวลาไปเข้าสังคม หรือไปหาความรู้รอบตัวอื่นๆ หรือรอบรู้ถึงพัฒนาการของวิชาการ หรือเหตุการณ์จริงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
ทำ ให้นักบริหารในสายงานบัญชีเกิดความกังวล หรือมีความไม่มั่นคงทางใจ ที่กลัวว่าตัวเองจะล้าสมัยตามไม่ทันโลก ทำให้พลาดโอกาสสำคัญที่จะได้ขึ้นสู่หมายเลขหนึ่งขององค์การ
ปัญหา ใหญ่จึงอยู่การกลัวจะล้าสมัย "ความคิดแคบ" โดยไม่เปิดกว้างและขาดการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้วิธีคิดและการตัดสินใจติดอยู่กับข้อมูลเก่า กลายเป็นข้อเสียที่แก้ยาก ลามลึกไปถึงอุปนิสัยที่มั่นคงถาวร แก้ไขไม่ได้ เช่น การไม่มอบหมายงาน ซึ่งยิ่งทำให้ต้องจมปลักอยู่ในหล่มเก่า งานเสียหาย คนโตไม่ได้
แต่ อย่างไรก็ตาม ยังมีสาเหตุประการอื่นที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ ในสมัยนั้น (ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2516) ในเมืองไทยได้มีการเริ่มสอน MBA หรือ ป.โท ทางบริหารธุรกิจขึ้น โดยเปลี่ยนไปใช้แนวคิดการสอนแบบอเมริกัน คือ การสอนเพื่อผลิต "นักบริหารมืออาชีพ" (Professional Manager) มากกว่าการสอนพาณิชยศาสตร์แบบเดิม เน้นพิธีการทำการค้า โดยการรับผู้เข้าเรียนจากสาขาวิชาต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องจบบัญชี พาณิชยศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ เช่นแต่ก่อน

ทั้ง นี้ สองสถาบันที่สอน MBA เพื่อผลิตนักบริหาร คือ ธรรมศาสตร์กับนิด้า ต่างกันที่ธรรมศาสตร์ จัดสอนเป็นโครงการพิเศษนอกเวลาทำการ เพื่อผลิตนักบริหารที่ติดค้างอยู่ในระบบเศรษฐกิจการค้าแบบเก่า
เหตุ ที่เปลี่ยนเพราะมีแนวคิดใหม่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป คือ องค์กรเติบโต ขอบเขตงานขยายตัว ทำให้ต้องการนักบริหารคนใหม่ๆ ขึ้นมารับหน้าที่บริหารงานและหน่วยงานที่แยกตัวออกมา แต่ไม่อาจหาคนที่โตในสายงานต่างๆ มาเป็นนักบริหารได้
เพราะ คนเรียนเก่งของแต่ละสายอาชีพในสมัยนั้นส่วนใหญ่ต่างเรียนต่อยอด "สายตรง" ในอาชีพหรือเทคนิคที่เรียนมาในชั้นปริญญาตรี สอดคล้องกับงานทางเทคนิคที่เรียนมาก่อน เช่น วิศวกรรม เคมี หรือวิทยาศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ ทำนองเดียวกับนักบัญชี ซึ่งต่างต้องถูกจำกัดให้ต้องโตได้เฉพาะในสายเทคนิคหรือวิชาชีพของตนเท่านั้น
ประจวบ เหมาะกับสภาพแวดล้อมการพัฒนาในไทย อุตสาหกรรมกำลังขยายตัวมากขึ้น เศรษฐกิจโตขึ้น ขณะที่มีการขยายงาน ทั้งหน่วยงานผลิตและขายมากมาย ตามหลังนโยบายส่งเสริมการลงทุน
ผล จึงปรากฏออกมา ว่า นักบริหารของหน่วยงานใหม่กับที่ขยายตัว เช่น โรงงานผลิต และงานการตลาด ต่างตกไปอยู่กับชาวต่างชาติที่มีภาษาดีที่ได้รับตำแหน่ง ตัดหน้าพนักงานอาวุโสของไทย ที่มักจมอยู่กับงานด้านเทคนิค และยังคงเป็นผู้ชำนาญด้านเทคนิควิศวกรรม เป็นนักบัญชี หรือเป็นเภสัชกร แทบทั้งสิ้น
ความ รู้และประสบการณ์ที่ขาดไป คือ ความรู้ทาง "บริหารจัดการ" ที่จะเข้ามาทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาเชิงรวม และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ซึ่งประสบการณ์และทักษะของนักบริหารที่ต้องสร้างขึ้นนั้น ไม่อาจรอเวลาได้ เพราะจะไม่ทันกาล
ดัง นั้น ด้วยระบบการผลิตหรือสร้างนักบริหารตามแบบของสหรัฐซึ่งใช้วิธีทางอ้อม โดยเรียนด้วยกรณีศึกษา หรือจำลองเรื่องคล้ายสถานการณ์จริง พร้อมกับการออกแบบหลักสูตร ให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนที่เป็นนักบริหารจะต้องรู้ ในทางทฤษฎี กับมุมมองการประยุกต์ตามสถานการณ์ นั่นคือ หลักสูตร MBA ที่ใช้สอนคนที่เป็นผู้ชำนาญการที่โตมาจากทุกสายงาน โดยจะมาจากสายไหนก็ได้ ทั้งนักบัญชี เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ หรือวิศวกรและอื่นๆ ให้เข้ามาเรียน จบแล้วก็จะเป็นนักบริหารได้ โดยมั่นใจว่าจะมีทั้งความรู้ทุกด้าน แบบรอบรู้ และรู้รอบตัว กับมีทักษะในการตัดสินใจ บังคับบัญชาคนและบริหารทั้งองค์กรอย่างเป็นระบบและกระบวนการได้
การ เปลี่ยนปรัชญาการสอนและหลักสูตรแบบข้างต้น ยิ่งทำให้โอกาสที่นักบัญชีถูกนักบริหารจากสายงานอื่นที่เรียน MBA แซงหน้าไปมากยิ่งขึ้นไปอีก
นั่น คือ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ติดค้างในใจของนักบัญชี ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ควบคุมตำแหน่งใหญ่สุด หรือ Controller ในองค์กรมาก่อนที่ต้องมาถูกเบียดแย่งตำแหน่งไปโดยชาวต่างชาติ กับนักบริหารที่โตมาจากสายอื่น
แม้ จนถึงขณะนี้ ที่อาชีพนักบัญชีก็มีการขยายตัวดี มีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ มากวิชาไม่แพ้กลุ่มอื่นใดก็ตาม แต่ก็ยังคงเสียเปรียบ แม้โตเร็วขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ไม่ทันกาล เพราะยุคโลกาภิวัตน์สิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไว แปลกใหม่ ซับซ้อนหรือเงื่อนไขกับลักษณะปัญหากลับตาลปัตร จึงยิ่งเร่งรัดให้นักบัญชีอยากหันไปเรียนบริหารธุรกิจ เพื่อหนีงานบัญชีมากขึ้นไปอีก
แต่ แท้จริงแล้ว ปัจจัยอิทธิพลมากกว่า คือ ขณะพอใจกับการเรียนบัญชีและรู้ว่ามีคุณค่า และให้อาชีพที่ดีพอ แต่นักบัญชีและกลุ่มคนที่ชำนาญด้านเทคนิคนั้น ต่างจะมุ่งหาทางออก โดยมีทั้งการเข้าสังคมมากขึ้น กับหาโอกาสเข้าเรียน MBA เพื่อให้มีความพร้อมในการเป็นนักบริหารชั้นสูง
ทั้ง นี้ กรอบการผลิตนักบริหาร MBA จะมีส่วนสำคัญนี้ ซึ่งต้องมีการออกแบบเนื้อหาหลักสูตรในการเรียนวิชาการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเป็นนักบริหาร ที่จะได้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น ซึ่งจะประกอบด้วย
  ก) การเรียนวิชาต่างๆ เพื่อเข้าใจสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ คือ วิชาเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจกับสภาพแวดล้อมและสังคม และกฎหมาย เป็นต้น
  ข) การศึกษากลุ่มวิชาแกน ที่จะให้ทุกคนมีความรู้ "หน้าที่งานหลัก" ของธุรกิจครบด้าน หรือ Business Functions เพื่อให้รู้ถึงงานหลักต่างๆ ของกระบวนการทำธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต การตลาด การเงินและบัญชี การจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ
  ค) การเรียนวิชาที่เป็นเครื่องมือช่วยต่อการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น คณิตศาสตร์หรือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติกับการวิเคราะห์ทางบัญชี เป็นต้น
  ง) กลุ่มวิชาเอก สาขาต่างๆ เพื่อการเป็นผู้บริหารในสายงาน เช่น กลุ่มวิชาการเงิน การบริหารการตลาด การบริหารการผลิต หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  จ) การเรียนวิชากลุ่มการจัดการ เพื่อทักษะในการจัดการและการบูรณาการต่างๆ คือ องค์การและการบริหาร วิชาพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการบริหารองค์การ และการจัดการกลยุทธ์
ทั้งนี้ ในส่วนนี้ผู้เรียนจะต้องรู้จักฝึกฝนการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ พร้อมกับฝึกทักษะความกล้าในการที่จะตัดสินใจด้วย
สิ่ง สำคัญยิ่งกว่าหลักสูตร คือ วิธีการสอน ที่จะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจความรู้ทั้งทางทฤษฎีและวิธีการประยุกต์ปฏิบัติ โดยมุ่งถึงสัมฤทธิ์คติที่จะได้ผลในทางปฏิบัติเป็นสำคัญ ซึ่งต้องอาศัย ปัจจัยสำคัญประการต่างๆ คือ
  ก) คณาจารย์ผู้สอนต้องเก่งความรู้และมีประสบการณ์ทำงานทางปฏิบัติ
  ข) การต้องมีผู้อำนวยการโครงการที่คล่องตัว ทันสมัยและเอาใจใส่
  ค) การต้องมีบรรยากาศ ความใกล้ชิดกับสังคมของโลกธุรกิจและเปิดกว้าง โดยมีเครือข่ายและสายสัมพันธ์ในโลกกว้างที่เป็นสากล
  ง) การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และสุดท้าย คือ การขยายโลกทัศน์การมองโลกและจัดการองค์กรและคนสู่ความสำเร็จ ซึ่งโดยประสบการณ์ส่วนตัว
ทางแก้ไข ทัศนภาพการมองปัญหาในขอบเขตที่แคบของนักบัญชี สามารถทำได้โดย
  ก) สนใจเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ เพื่อการเข้าใจโลกยุคต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
  ข) พฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งจะทำให้อ่านใจคนได้ กับคิดกลยุทธ์ได้มากขึ้น
  ค) การตื่นตัว สนใจเรียนรู้นอกกรอบเดิม เพื่อขยายความเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เพื่อจะติดตามสิ่งที่เปลี่ยนไปได้ทุกขณะ

0 comments:

Post a Comment