Thursday, February 21, 2013

การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)

การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)

ภาพ your accounting
ที่มา financial-accounting-software.info
          คือ "การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ"

          คำว่า  การบัญชี หรือ ภาษาอังกฤษ ที่เรียกกันว่า Accounting สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การ บัญชี คือ ศิลปะของการเก็บรวมรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ”
จากความหมายของการบัญชีดังกล่าว เราสามารถสรุปขั้นตอนของการบัญชีได้ 5 ขั้นตอน คือ

ภาพ the recording and classifying and summarising of data
ที่มา edu.iluvislam.com
          1.การเก็บรวมรวม (Gathering) ข้อมูลทางการเงิน หรือที่เรียกว่ารายการค้า (Transaction) ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

          2.การจดบันทึก (Recording) รายการค้าหรือเหตุการณ์ทางการเงินทุกรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุด บัญชีขั้นต้น นั้นๆ ซึ่งในการจดบันทึกจะต้องอาศัยเอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกรายการด้วย เช่น ใบเสร็จรับเงิน

          3.การจำแนก (Classifying) เมื่อมีการบันทึกรายการบัญชีในสมุดบัญชีขั้นต้นแล้ว จะต้องมีการจัดรายการโดยการแยกออกเป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีขั้นปลาย เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย

          4.การสรุปผล (Summarizing) หลังจากที่ได้มีการจดบันทึกรายการค้าหรือเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆที่เกิด ขึ้น ผ่านไประยะหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ จึงต้องแสดงออกมาในรูปของงบการเงิน เช่น “งบกำไรขาดทุน” (Income Statement) และ“งบกำไรขาดทุน”(Income Statement)

          5.การวิเคราะห์และแปลความหมาย (Analysis and Interpreting) ข้อมูลทางการบัญชีที่ได้รับจากการสรุปผล เป็นขั้นตอนของการนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจ เช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งการการวิเคราะห์และแปลความหมายก็อาจแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ของนักบัญชีแต่ละคน

          และมีข้อสังเกตถึงคำที่มักใช้สับสนกัน นั้นก็คือคำว่า “การบัญชี (Accounting)” และ “การทำบัญชี (Book keeping)” ซึ่งแท้จริงแล้ว แตกต่างกัน เพราะคำว่า“การทำบัญชี (Book keeping)” คือ การจดบันทึกรายการลงในสมุดบัญชี จำแนกรายการบัญชี และสรุปรายการบัญชีโดยจัดทำงบการเงินเท่านั้น จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งหมายรวมทั้งระบบบัญชี

คณะนี้เรียนอะไร ?           การเรียนในคณะทางด้านบัญชี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะในการบันทึกรายการทางการค้าที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ให้เป็นหมวดหมู่และง่ายต่อการนำไปใช้ รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลทางการเงิน เพื่อใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจทางธุรกิจ

ภาพ คณะบัญชี สถาบันต่างๆ
          คณะบัญชีได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิตสำหรับนักศึกษาหลัก สูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง แตกต่างกันตามความเหมาะสม และวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบัน แต่ย่อมมีความสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน และเพื่อความเชี่ยวชาญจึงมีทั้งการเรียนด้านวิชาการใน เน้นการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้งานได้จริง รวมทั้งการเรียนรู้ ที่ให้ประสบการดูงานจากธุรกิจจริง และเพื่อเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตเพราะอาชีพนี้ไม่น้อยทีเดียวต้องไปทำงานกับ บริษัทเอกชนที่เป็นการทำงานร่วมกับต่างชาติ บางสถาบันจึงทำการเรียนการสอนในรูปแบบเน้นทักษะทางภาษาอังกฤษ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีสาขาที่เน้นแตกต่างกันไปดังนี้

          • กลุ่มวิชาการสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎี การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานบัญชี ปัญหาในการสอบบัญชี การตรวจสอบภายใน และวิชาชีพการสอบบัญชี
          • กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี รวมทั้งการออกแบบวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลทางบัญชี โดยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี
          • สาขาวิชาการต้นทุน จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีรวมทั้งระบบบัญชีรวมทั้งระบบวิธีการบัญชีต้นทุน และการวิเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลทางบัญชี
          • การบัญชีภาษีอากร ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากร
          • การบัญชีการเงิน จะเน้นเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี ในการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน เพื่อนักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำงบการเงิน
          • การบัญชีการบริหาร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร สอนหลักและทฤษฎีการคำนวณต้นทุนและกำไร รวมทั้งการฝึกงานให้มีความสามารถในการนำบัญชีไปสู่การวางแผนบริหารจัดการ องค์กร

ตัวอย่างวิชาที่เรียน

ภาพ Financial and Managerial Accounting Value Pack
ที่มา
www.pearsonhighered.com
          การบัญชีขั้นกลาง 1(Intermediate Accounting 1)
          การบัญชีขั้นกลาง 2(Intermediate Accounting 2)
          การบัญชีขั้นสูง1(Advanced Accounting 1)
          การบัญชีต้นทุน(Cost Accounting)
          การบัญชีบริหาร(Management Accounting)
          การบัญชีภาษีอากร(Tax  Accounting)
          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี(Accounting Information Systems)
          การสอบบัญชี(Auditing)
          การตรวจสอบภายใน(Internal Audit )
          สัมมนาการบัญชีการเงิน(Seminar in Financial Accounting)
          การตรวจสอบการทุจริต(Forensic Auditing)
          กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการบัญชี(Legal Aspects of Accounting Profession)
          กฎหมายธุรกิจและการภาษีอากรสำหรับธุรกิจต่างด้าว(Business Law and Taxation for International Business)
          การวางแผนภาษีอากร(Tax Planning)
          กฎหมายและการภาษีอากรสำหรับธุรกิจส่งออกและธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
          (Business Law and Taxation for Export and Board of Investment)
          การบัญชีเพื่อการวางแผนและควบคุม(Accounting for Planning and Control)
          การบัญชีสิ่งแวดล้อม(Environmental  Accounting)
          การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์(Strategic Cost Management)
          การวิเคราะห์โครงการ(Project  Analysis)
          การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์(Strategic Cost Management)
          การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information Systems  Design and Analysis)
          การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลทางการบัญชี(Accounting Database Design and Analysis)
          การสื่อสารข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจ(Business Information and Communication)
          สัมมนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี(Seminar in Accounting Information Systems)
          การบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ (LIABILITIES AND EQUITY ACCOUNTING)
          การบัญชีหน่วยงานภาครัฐ (GOVERNMENTAL ACCOUNTING)
          การบัญชีธนาคารพาณิชย์ (COMMERCIAL BANK ACCOUNTING)
          การบัญชีเฉพาะกิจการ (SPECIALIZED ACCOUNTING)

โอกาสในอาชีพการงาน
ทุกกิจการต้องมีการบันทึกบัญชี และนี่คืองานที่ผู้เรียนบัญชีสามารถทำงานได้ เช่น

          อย่างงานทั่วๆไปก็คือ เป็นพนักงานบัญชีและการเงิน สมุห์บัญชี เมื่อมีประสบการณ์และความสามารถมากขึ้นก็อาจจะก้าวไปเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเปิดสำนักงานรับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน(Internal Auditor) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)  ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor)  ผู้ออกแบบระบบบัญชีและการควบคุมภายใน ผู้วางแผนภาษีอากร นักบัญชีบริหาร เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่สรรพากร ที่ปรึกษาการบัญชีและการเงิน ที่ปรึกษาวางระบบการควบคุมภายใน นักวิชาการ อาจารย์ นักวิเคราะห์ นักวิจัย

ภาพ Internal Audit Process
ที่มา mesaaz.gov
          หากมีเงินทุนก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการเปิดสำนักงานรับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชีได้เลย
 หรือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพโดยตรง เช่น ทำงานธนาคาร  ผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบขององค์กรธุรกิจ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง
          สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          สาขาบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ
          สภาวิชาชีพบัญชี
          มาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
          รายวิชาอิเลคนิกส์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

15สถาบันจับมือรวมพลัง ร่วมสร้างเครือข่ายวิจัยทางบัญชี

15สถาบันจับมือรวมพลัง ร่วมสร้างเครือข่ายวิจัยทางบัญชี 
     ปัจจุบันงานวิจัยมีความสำคัญและจำเป็นต่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการวิจัยเป็นพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน พร้อมการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตลอดจนเป็นพลัง ปัญญาของสังคม
     คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานวิจัยด้านบัญชี จึงจัดตั้งเครือข่ายวิจัยทางการบัญชีระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมมือในการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางการบัญชีที่มีคุณภาพต่อวงการ การศึกษาโดยรวม
                                  
     ผศ.อัมพร เที่ยงตระกูล คณบดีคณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ กล่าวว่า การก่อตั้งเครือข่ายงานวิจัยทางการบัญชี เพื่อต้องการสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยด้านบัญชีระหว่างสถาบันการศึกษา สำหรับการแลกเปลี่ยนข่าวสารการวิจัย รวมถึงการทำกิจกรรมงานวิจัยร่วมกัน และเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านบัญชี เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในสังคม
     เครือข่ายวิจัยทางการบัญชีได้มีการริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยการปรึกษากันระหว่าง ดร.ปรีเปรม นนทลีรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและพัฒนาองค์กร อดีตคณบดีคณะการบัญชี มหา วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และรศ.ดร.ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ คณบดีคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทำบันทึกถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการประชุมหารือร่วมกัน โดยจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ "การจัดตั้งเครือข่ายวิจัยทางการบัญชี" ขึ้นเมื่อปี 2552 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายทางการบัญชีรวม 8 สถาบัน หลังจากได้ลงนามความร่วมมือกันนั้น ก็ได้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ สนใจเข้าร่วมเครือข่ายวิจัยทางการบัญชีเพิ่มขึ้น จึงได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ "การจัดตั้งเครือข่ายวิจัยทางการบัญชี" ฉบับ ที่ 2 ขึ้นเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา การร่วมมือกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการ สร้างเครือข่ายงานวิจัยทางการบัญชี ทำให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในศักยภาพอาจารย์ผู้สอน
                                 
   "เพราะในปัจจุบันงานวิจัยด้านบัญชีที่มีอยู่นั้นค่อนข้างน้อยและไม่แพร่หลาย มากนัก ดังนั้นการร่วมมือกันก็เหมือนกับการระดมความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัยด้านการบัญชี และส่งเสริมให้คณาจารย์ผลิตงานวิจัยทางการบัญชีที่มีคุณภาพให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาและสังคม"
   ในการลงนามความร่วมมือฉบับที่ 2 นั้น มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมลงนามทั้งสิ้น 16 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหา วิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
   นอกจากจะเป็นการจับมือร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการระหว่างสถาบัน แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านงานวิจัยการบัญชีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการ งานวิจัยและสังคมต่อไป

จรรยาบรรณของนักบัญชี

จรรยาบรรณของวิชาชีพ
ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ



จรรยาบรรณต่อตนเอง


1. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตัวเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ต่อการพัฒนาทางวิทาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
2. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพและเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ
จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
3. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริมให้กำลังใจแก่ศิษย์และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า
4. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
5. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกายวาจา และจิตใจ
6. ผู้ประกอบวิชาการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ ต่อความเจริญทางกายสติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และรับบริการ
7. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับหรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ
จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
8. ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
9. ผู้ประกอบวิชาชีพการศึกษา พึงปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์และพัฒนา เศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษา ผลประโยชน์ของส่วนร่วม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
ความหมาย

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการบัญชี

การบัญชีเริ่มต้นได้อย่างไร
มีการพบหลักฐานว่า การบัญชีเกิดขึ้นมากว่า 4,000 ปีแล้ว สมัยนั้นได้มีการจัดทำบัญชี

สินค้า บัญชีค่าแรง และค่าภาษีอากร ในเมโสโปเตเมีย ต่อมาก่อนคริสตศตวรรษที่ 14 พ่อค้าชาวอิตาเลี่ยนได้พัฒนาระบบบัญชีคู่ขึ้นใช้เป็นครั้งแรก แต่หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เขาคิดขึ้นนั้นไม่ได้รวบรวมไว้จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1494 นาย FRA LUCA PACIOLI ชาวอิตาเลี่ยน ได้แต่งหนังสือชื่อ เรียกสั้น ๆ ว่า “Summa” เป็นตำราว่าด้วยการคำนวณเกี่ยวกับเลขคณิต พีชคณิต การแลกเปลี่ยนเงินตรารวมทั้งการบัญชี ซึ่งเขาได้รวบรวมกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของหลักการบัญชีคู่ไว้อย่างสมบูรณ์ จนได้รับการยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งวิชาการบัญชี” ต่อมาราวคริสตศตวรรษที่ 18 เกิดการปฏิวัติทางอุตสาหกรรมขึ้นในยุโรป ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจครั้งใหญ่ มีการลงทุนกันมากขึ้น โดยเฉพาะมีการลงทุนร่วมกัน ทำให้เกิดความคิดที่จะบันทึกบัญชีกิจการแยกต่างหากจากเจ้าของ เพื่อจะได้ทราบว่าใครลงทุนเท่าใด และมีสิทธิส่วนได้ ส่วนเสียในกิจการเท่าใด นอกจากนั้นยังมีการจัดทำงบการเงินเพื่อรายงานถึงผลการดำเนินงานและฐานะของ ธุรกิจให้ผู้ร่วมลงทุนได้ทราบ ซึ่งแนวความคิดนี้เป็นที่ยอมรับและใช้กันอยู่จนถึงปัจจุบัน

ความหมายของการบัญชี



คำว่า “การบัญชี” (Accounting) มีการให้คำจำกัดความไว้หลายบุคคล ซึ่งสามารถสรุปได้พอสังเขป ดังนี้

การบัญชี (Accounting) คือ ขั้นตอนของระบบการรวบรวม การวิเคราะห์และการรายงานข้อมูลทางการเงิน (Pride, Hughes and Kapoor. 1996 : 534)
สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาต แห่งประเทศไทย ซึ่งเรียกย่อว่า ส.บช. (The Institute of Ceritfied Accountants and Auditor of Thailand : ICAAT) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
การบัญชี (Accounting) หมายถึง ศิลปะของการเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือการให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ
สมาคมผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของประเทศสหรัฐ อเมริกา ( The American Institute of Certified Public Accountants : AICPA) ได้ให้ความหมายของการบัญชีไว้ดังนี้
” Accounting is the art of recording, classifying and หsummarizing in a significant manner and in terms of money, transactions and events which are, in part at least, of financial character and interpreting the results thereof.”
จากคำนิยามดังกล่าว การบัญชี หมายถึง ศิลปะของการจดบันทึก การจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ และการสรุปผลสิ่งสำคัญในรูปตัวเงิน รายการ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ซึ่งเกี่ยวข้องกับทางด้านการเงิน รวมทั้งการแปลความหมายของผลการปฏิบัติดังกล่าวด้วย


การบัญชีมีความหมายที่สำคัญ
2 ประการ คือ
1. การทำบัญชี (Bookkeeping) เป็นหน้าที่ของผู้ทำบัญชี (Bookkeeper) ซึ่งมีขั้นตอนการปฏิบัติดังนี้
1.1 การรวบรวม (Collecting) หมายถึง การรวบรวมข้อมูลหรือรายการค้าที่เกิดขึ้นประจำวันและหลัก

ฐานข้อมูลที่เกี่ยว กับการดำเนินธุรกิจ เช่น หลักฐานการซื้อเชื่อและขายเชื่อ หลักฐานการับและจ่ายเงิน เป็นต้น

1.2 การบันทึก (Recording) หมายถึง การจดบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นแต่ละครั้งให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่ รับรองทั่วไป พร้อมกับบันทึกข้อมูลให้อยู่ในรูปของหน่วยเงินตรา
1.3 การจำแนก (Classifying) หมายถึง การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้แล้ว มาจำแนกให้เป็นหมวดหมู่ของบัญชีประเภทต่างๆ เช่น หมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ส่วนของเจ้าของ รายได้และค่าใช้จ่าย
1.4 การสรุปข้อมูล (Summarizing) เป็นการนำข้อมูลที่ได้จำแนกให้เป็นหมวดหมู่ดังกล่าวมาแล้วมาสรุปเป็นรายงาน ทางการเงิน (Accounting report) ซึ่งแสดงถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของธุรกิจตลอดจนการได้มาและใช้ไป ของเงินสดในรอบระยะเวลาบัญชีหนึ่ง
2. การให้ข้อมูลทางการเงิน เพื่อประโยชน์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายบริหาร ผู้ให้กู้ เจ้าหนี้ ตัวแทนรัฐบาล นักลงทุน เป็นต้น นอกจากนี้ข้อมูลทางการเงินยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางด้าน การเงิน การจัดทำงบประมาณ การปรับปรุงระบบบัญชี เป็นต้น
ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของการบัญชี


1. ช่วยให้เจ้าของกิจการสามารถควบคุมรักษาสินทรัพย์ของกิจการได้

2. ช่วยให้ทราบผลการดำเนินงานของกิจการ ในรอบระยะเวลาใดเวลาหนึ่งว่า ผลการดำเนินงานที่ผ่านมา กิจการมีกำไรหรือขาดทุนเป็นจำนวนเท่าใด

3. ช่วยให้ทราบฐานะการเงินของกิจการ ณ วันใดวันหนึ่งว่า กิจการในสินทรัพย์ หนี้สิน และทุน ซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของกิจการเป็นจำนวนเท่าใด
4. การทำบัญชีเป็นการรวบรวมสถิติอย่างหนึ่งที่ช่วยในการบริหารงาน และให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ในการวางแผนการดำเนินงาน และควบคุมกิจการให้ประสบผลสำเร็จตามความมุ่งหมาย
5. เพื่อบันทึกรายการค้าที่เกิดขึ้นตามลำดับก่อนหลัง และจำแนกตามประเภทของรายการค้าได้
6. เพื่อให้ถูกต้องตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการทำบัญชีของกิจการต่างๆ