Thursday, February 21, 2013

การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)

การบัญชีคืออะไร? (What is Accounting?)

ภาพ your accounting
ที่มา financial-accounting-software.info
          คือ "การเก็บรวบรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเหตุการณ์ทางเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่ายและผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ"

          คำว่า  การบัญชี หรือ ภาษาอังกฤษ ที่เรียกกันว่า Accounting สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ได้ให้ความหมายไว้ว่า “การ บัญชี คือ ศิลปะของการเก็บรวมรวม บันทึก จำแนก และทำสรุปข้อมูลอันเกี่ยวกับเศรษฐกิจในรูปตัวเงิน ผลงานขั้นสุดท้ายของการบัญชีก็คือ การให้ข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเป็นประโยชน์แก่บุคคลหลายฝ่าย และผู้ที่สนใจในกิจกรรมของกิจการ”
จากความหมายของการบัญชีดังกล่าว เราสามารถสรุปขั้นตอนของการบัญชีได้ 5 ขั้นตอน คือ

ภาพ the recording and classifying and summarising of data
ที่มา edu.iluvislam.com
          1.การเก็บรวมรวม (Gathering) ข้อมูลทางการเงิน หรือที่เรียกว่ารายการค้า (Transaction) ที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน

          2.การจดบันทึก (Recording) รายการค้าหรือเหตุการณ์ทางการเงินทุกรายการที่เกิดขึ้นในแต่ละวันลงในสมุด บัญชีขั้นต้น นั้นๆ ซึ่งในการจดบันทึกจะต้องอาศัยเอกสารหลักฐานประกอบการบันทึกรายการด้วย เช่น ใบเสร็จรับเงิน

          3.การจำแนก (Classifying) เมื่อมีการบันทึกรายการบัญชีในสมุดบัญชีขั้นต้นแล้ว จะต้องมีการจัดรายการโดยการแยกออกเป็นหมวดหมู่ในสมุดบัญชีขั้นปลาย เช่น สินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่าย

          4.การสรุปผล (Summarizing) หลังจากที่ได้มีการจดบันทึกรายการค้าหรือเหตุการณ์ทางการเงินต่างๆที่เกิด ขึ้น ผ่านไประยะหนึ่ง เพื่อให้ทราบถึงผลการดำเนินงาน และฐานะทางการเงินของกิจการ จึงต้องแสดงออกมาในรูปของงบการเงิน เช่น “งบกำไรขาดทุน” (Income Statement) และ“งบกำไรขาดทุน”(Income Statement)

          5.การวิเคราะห์และแปลความหมาย (Analysis and Interpreting) ข้อมูลทางการบัญชีที่ได้รับจากการสรุปผล เป็นขั้นตอนของการนำข้อมูลทางการบัญชีไปใช้ในการตัดสินใจ เช่น การวิเคราะห์งบการเงิน ซึ่งการการวิเคราะห์และแปลความหมายก็อาจแตกต่างกันไปตามประสบการณ์และความ เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ของนักบัญชีแต่ละคน

          และมีข้อสังเกตถึงคำที่มักใช้สับสนกัน นั้นก็คือคำว่า “การบัญชี (Accounting)” และ “การทำบัญชี (Book keeping)” ซึ่งแท้จริงแล้ว แตกต่างกัน เพราะคำว่า“การทำบัญชี (Book keeping)” คือ การจดบันทึกรายการลงในสมุดบัญชี จำแนกรายการบัญชี และสรุปรายการบัญชีโดยจัดทำงบการเงินเท่านั้น จึงเป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งหมายรวมทั้งระบบบัญชี

คณะนี้เรียนอะไร ?           การเรียนในคณะทางด้านบัญชี เป็นการศึกษาเกี่ยวกับศิลปะในการบันทึกรายการทางการค้าที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ให้เป็นหมวดหมู่และง่ายต่อการนำไปใช้ รวมไปถึงการวิเคราะห์และการแปลความหมายข้อมูลทางการเงิน เพื่อใช้ในการวางแผนและการตัดสินใจทางธุรกิจ

ภาพ คณะบัญชี สถาบันต่างๆ
          คณะบัญชีได้จัดให้มีการเรียนการสอนหลักสูตรบัญชีบัณฑิตสำหรับนักศึกษาหลัก สูตร 4 ปี และหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง แตกต่างกันตามความเหมาะสม และวัตถุประสงค์ของแต่ละสถาบัน แต่ย่อมมีความสอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดแรงงาน และเพื่อความเชี่ยวชาญจึงมีทั้งการเรียนด้านวิชาการใน เน้นการนำทฤษฎีไปประยุกต์ใช้งานได้จริง รวมทั้งการเรียนรู้ ที่ให้ประสบการดูงานจากธุรกิจจริง และเพื่อเพิ่มศักยภาพของบัณฑิตเพราะอาชีพนี้ไม่น้อยทีเดียวต้องไปทำงานกับ บริษัทเอกชนที่เป็นการทำงานร่วมกับต่างชาติ บางสถาบันจึงทำการเรียนการสอนในรูปแบบเน้นทักษะทางภาษาอังกฤษ

หลักสูตรบัญชีบัณฑิต มีสาขาที่เน้นแตกต่างกันไปดังนี้

          • กลุ่มวิชาการสอบบัญชีและการตรวจสอบภายใน จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎี การนำคอมพิวเตอร์ไปใช้กับงานบัญชี ปัญหาในการสอบบัญชี การตรวจสอบภายใน และวิชาชีพการสอบบัญชี
          • กลุ่มวิชาระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี รวมทั้งการออกแบบวิเคราะห์และจัดระบบข้อมูลทางบัญชี โดยการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี
          • สาขาวิชาการต้นทุน จะเน้นหนักเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีรวมทั้งระบบบัญชีรวมทั้งระบบวิธีการบัญชีต้นทุน และการวิเคราะห์ และจัดระบบข้อมูลทางบัญชี
          • การบัญชีภาษีอากร ศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนภาษีอากร
          • การบัญชีการเงิน จะเน้นเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการบัญชี ในการรายงานและการเปิดเผยข้อมูลทางการเงินการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน เพื่อนักศึกษาให้มีความเชี่ยวชาญในการจัดทำงบการเงิน
          • การบัญชีการบริหาร เป็นการศึกษาเกี่ยวกับข้อมูลทางการบัญชีเพื่อการบริหาร สอนหลักและทฤษฎีการคำนวณต้นทุนและกำไร รวมทั้งการฝึกงานให้มีความสามารถในการนำบัญชีไปสู่การวางแผนบริหารจัดการ องค์กร

ตัวอย่างวิชาที่เรียน

ภาพ Financial and Managerial Accounting Value Pack
ที่มา
www.pearsonhighered.com
          การบัญชีขั้นกลาง 1(Intermediate Accounting 1)
          การบัญชีขั้นกลาง 2(Intermediate Accounting 2)
          การบัญชีขั้นสูง1(Advanced Accounting 1)
          การบัญชีต้นทุน(Cost Accounting)
          การบัญชีบริหาร(Management Accounting)
          การบัญชีภาษีอากร(Tax  Accounting)
          ระบบสารสนเทศทางการบัญชี(Accounting Information Systems)
          การสอบบัญชี(Auditing)
          การตรวจสอบภายใน(Internal Audit )
          สัมมนาการบัญชีการเงิน(Seminar in Financial Accounting)
          การตรวจสอบการทุจริต(Forensic Auditing)
          กฎหมายเกี่ยวกับวิชาชีพการบัญชี(Legal Aspects of Accounting Profession)
          กฎหมายธุรกิจและการภาษีอากรสำหรับธุรกิจต่างด้าว(Business Law and Taxation for International Business)
          การวางแผนภาษีอากร(Tax Planning)
          กฎหมายและการภาษีอากรสำหรับธุรกิจส่งออกและธุรกิจที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (BOI)
          (Business Law and Taxation for Export and Board of Investment)
          การบัญชีเพื่อการวางแผนและควบคุม(Accounting for Planning and Control)
          การบัญชีสิ่งแวดล้อม(Environmental  Accounting)
          การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์(Strategic Cost Management)
          การวิเคราะห์โครงการ(Project  Analysis)
          การบริหารต้นทุนเชิงกลยุทธ์(Strategic Cost Management)
          การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information Systems  Design and Analysis)
          การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูลทางการบัญชี(Accounting Database Design and Analysis)
          การสื่อสารข้อมูลสารสนเทศทางธุรกิจ(Business Information and Communication)
          สัมมนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี(Seminar in Accounting Information Systems)
          การบัญชีหนี้สินและส่วนของเจ้าของ (LIABILITIES AND EQUITY ACCOUNTING)
          การบัญชีหน่วยงานภาครัฐ (GOVERNMENTAL ACCOUNTING)
          การบัญชีธนาคารพาณิชย์ (COMMERCIAL BANK ACCOUNTING)
          การบัญชีเฉพาะกิจการ (SPECIALIZED ACCOUNTING)

โอกาสในอาชีพการงาน
ทุกกิจการต้องมีการบันทึกบัญชี และนี่คืองานที่ผู้เรียนบัญชีสามารถทำงานได้ เช่น

          อย่างงานทั่วๆไปก็คือ เป็นพนักงานบัญชีและการเงิน สมุห์บัญชี เมื่อมีประสบการณ์และความสามารถมากขึ้นก็อาจจะก้าวไปเป็น ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตเปิดสำนักงานรับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชี ผู้ตรวจสอบภายใน(Internal Auditor) คณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee)  ผู้สอบบัญชีภาษีอากร (Tax Auditor)  ผู้ออกแบบระบบบัญชีและการควบคุมภายใน ผู้วางแผนภาษีอากร นักบัญชีบริหาร เจ้าหน้าที่พัสดุ เจ้าหน้าที่สรรพากร ที่ปรึกษาการบัญชีและการเงิน ที่ปรึกษาวางระบบการควบคุมภายใน นักวิชาการ อาจารย์ นักวิเคราะห์ นักวิจัย

ภาพ Internal Audit Process
ที่มา mesaaz.gov
          หากมีเงินทุนก็สามารถเป็นเจ้าของกิจการเปิดสำนักงานรับทำบัญชีและตรวจสอบบัญชีได้เลย
 หรือ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพโดยตรง เช่น ทำงานธนาคาร  ผู้ควบคุมดูแลการปฏิบัติงาน (Compliance) นักเขียนโปรแกรม (Programmer) นักวิเคราะห์ระบบขององค์กรธุรกิจ เป็นต้น

ข้อมูลอ้างอิง
          สาขาวิชาการบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม
          สาขาบัญชี การเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ
          สภาวิชาชีพบัญชี
          มาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย
          รายวิชาอิเลคนิกส์ คณะบัญชี มหาวิทยาลัยแม่โจ้

0 comments:

Post a Comment