Monday, January 14, 2013

กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน

กรมสรรพากรเตือน ขอให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน

    กรมสรรพากรแจ้งเตือนให้ผู้ทำบัญชีระมัดระวังในการจัดทำงบการเงิน  ซึ่งประเด็นความผิดที่ตรวจพบในงบการเงิน คือ
   
(1) สินทรัพย์ที่แสดงในงบการเงิน ไม่มีรายการสินทรัพย์ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบกิจการ
(2) ห้างฯ ประกอบธุรกิจนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ และส่งออกสินค้าไปต่างประเทศ แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน และรายการกำไร(ขาดทุน) จากอัตราแลกเปลี่ยน
(3) ห้างฯ ประกอบธุรกิจรับเหมาก่อสร้างกับหน่วยงานราชการ แต่ในงบการเงินไม่ปรากฏรายการเงินฝากสถาบันการเงิน
(4) บันทึกรายการสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของหุ้นส่วนฯ เป็นสินทรัพย์ของห้างฯ และไม่มีการบันทึกสินทรัพย์ถาวรซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของห้างฯ เป็นสินทรัพย์ของห้างฯ
(5) จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น
   จัดประเภทรายการเจ้าหนี้เช่าซื้อเป็นเจ้าหนี้การค้า
   แสดงรายการลูกหนี้กรมสรรพากรเป็นลูกหนี้การค้า
   แสดง รายการสินค้าคงเหลือเป็นรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น จัดประเภทรายการสินค้าคงเหลือรวมอยู่ในรายการเงินสดและเงินฝากสถาบันการเงิน
   ไม่แยกรายการที่มีสาระสำคัญออกจากรายการสินทรัพย์หมุนเวียนอื่น และจัดประเภทสินทรัพย์หมุนเวียนเป็นสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เป็นต้น
(6) แสดงรายการลูกหนี้  เจ้าหนี้ และเงินกู้ยืม ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกัน โดยแยกรายการบัญชี ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจผิด
(7) งบการเงินบันทึกมูลค่าสินทรัพย์สูงไป เนื่องจากนำภาษีมูลค่าเพิ่มที่ขอคืนไปรวมเป็นมูลค่าของทรัพย์สิน
(8) งบการเงินแสดงข้อมูลส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่นแสดงข้อมูลส่วนของผู้เป็นหุ้นส่วนไม่ตรงกับข้อมูลที่ได้จากการคัดค้น ทะเบียนนิติบุคคลผ่านระบบอินเทอร์เน็ตของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(9) ลูกหนี้ค่าหุ้น แสดงรายการเป็นสินทรัพย์ ไม่ได้นำไปหักในส่วนของผู้ถือหุ้น
(10) แสดงจำนวนเงินยอดรวมสินทรัพย์ไม่เท่ากับยอดหนี้สินและส่วนของผู้ถือหุ้น
   
(1) งบการเงินไม่แสดงรายการต้นทุนขาย/บริการ ซึ่งผิดปกติของการประกอบธุรกิจ
(2) จัดประเภทรายการทางบัญชีผิด เช่น จัดประเภทค่าใช้จ่ายในหมวดต้นทุนขาย/บริการ ไปไว้ในค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร แสดงค่าอากรขาเข้าเป็นค่าใช้จ่ายโดยไม่ได้แสดงเป็นต้นทุนหรือไม่มีการปัน ส่วนต้นทุนขาย/บริการ และค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร เป็นต้น
(3) ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารแสดงรายการไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ไม่แสดงรายการค่าสอบบัญชีประจำปี ไม่แสดงรายการดอกเบี้ยจ่ายสำหรับรายการบัญชีเงินเบิกเกินบัญชี และเงินกู้ ยืมจากสถาบันการเงิน ไม่แสดงรายการดอกเบี้ยรับสำหรับรายการบัญชีเงินฝากสถาบันการเงิน เป็นต้น
(4) งบการเงินมีรายการทรัพย์สิน แต่ไม่มีรายการค่าเสื่อมราคา หรือคำนวณค่าเสื่อมราคาเพียงบางรายการ หรือไม่ได้คำนวณค่าเสื่อมราคาตั้งแต่วันที่ได้มาของทรัพย์สิน
(5) รายการค่าเสื่อมราคาในงบกำไรขาดทุนมีจำนวนเงินไม่ตรงกับหมายเหตุประกอบงบการเงิน
    
(1) ไม่ปรากฏหมายเหตุประกอบงบการเงิน
(2) เปิดเผยข้อมูลทั่วไปไม่สอดคล้องกับข้อเท็จจริง เช่น ระบุประเภทกิจการผิด
(3) ไม่มีการสรุปนโยบายการบัญชีที่สำคัญ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งบการเงินเข้าใจถึงลักษณะของรายการและเหตุการณ์ทางบัญชี เช่น การรับรู้รายได้/ค่าใช้จ่าย สินค้าคงเหลือ การคำนวณค่าเสื่อมราคา
(4) เปิดเผยนโยบายการบัญชีในส่วนของการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามเกณฑ์สิทธิ เกณฑ์พึงรับพึงจ่าย เกณฑ์ค้างรับค้างจ่าย ซึงไม่เป็นไปตามแม่บทการบัญชี และมาตรฐานการบัญชี
(5) เปิดเผยนโยบายการบัญชีวิธีการรับรู้รายได้ค่าใช้จ่ายของแต่ละประเภทธุรกิจไม่เหมาะสม หรือไม่ครบถ้วน เช่น กิจการรับเหมาก่อสร้าง
(6) เปิดเผยรายละเอียดของสินทรัพย์ถาวรโดยมีรายละเอียดไม่ครบถ้วนตามมาตรฐานการบัญชี เช่น อายุการใช้งาน อัตราการคิดค่าเสื่อมราคา ราคาตามบัญชีก่อนหักค่าเสื่อมราคา
(7) ไม่เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการคำนวณค่าเสื่อมราคา หรือเปิดเผยวิธีคำนวณค่าเสื่อมราคาโดยอ้างอิงประมวลรัษฎากร ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชี
(8) เปิดเผยนโยบายวิธีการคำนวณค่าเสื่อมราคา ไม่ตรงกับการบันทึกในบัญชี
(9) เปิดเผยนโยบายการบัญชีเกี่ยวกับการตีราคาสินค้าคงเหลือไม่เหมาะสมกับประเภทสินค้าคงเหลือ
(10) ไม่เปิดเผยรายการข้อมูลที่สำคัญตามมาตรฐานการบัญชี เช่น ภาระผูกพันข้อมูลทางการเงิน และการดำเนินงานต่อเนื่อง

ลดภาระ เพิ่มประสิทธิภาพงาน ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี

    ภาพ ของงานทางด้านบัญชีสำหรับคนทั่วไปที่นอกเหนือจากตัวเลขแล้วยังอาจนึกไปถึง ภาพของเอกสารกองพะเนินเทินทึก วางเรียงรายเต็มตู้ เพื่อจัดเก็บใบเสร็จ ข้อมูลทางบัญชีและอีกจิปาถะ ลำบากและน่าเห็นใจผู้จัดทำบัญชีจริงๆครับ จะค้นจะหาแต่ละที วุ่นวายไปหมด ช่วงอดีตที่ว่านั้นงานบัญชีจึงมักประสบปัญหาเรื่องการจัดเก็บเอกสารและดูแล ข้อมูลทางด้านบัญชีอย่างมาก
   ปัจจุบัน เทคโนโลยีช่วยแบ่งเบาภาระงานทางด้านบัญชีไปได้เยอะมากครับ ด้วยการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการจัดการกระบวนการแทบจะทุกขั้นตอนของการจัดทำ บัญชี เช่น การจัดเก็บข้อมูลลูกหนี้, เจ้าหนี้, การบันทึกบัญชี, การจัดทำงบการเงิน, ออกใบเสร็จรับเงิน, จัดทำรายงานสินค้าคงเหลือและแม้แต่เรื่องของการคำนวณอัตราการจ่ายเงินเดือน และค่าแรง เป็นต้น


   ภาพในอดีตที่เคยเห็นเจ้าหน้าที่บัญชีนั่งลงบันทึกบัญชีด้วยสมุดขนาดใหญ่ คงจะเริ่มลดน้อยลงไปทีละน้อยๆ โดยถูกแทนที่ด้วยภาพของการคีย์ข้อมูลทางบัญชีเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ส่วน บุคคล ลดภาระการจัดเก็บและเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำงานทางด้านบัญชีที่โปรแกรมสำเร็จรูปเหล่านี้จะช่วยร่นระยะเวลาในการทำ งานได้มาก เช่น 
1. การบันทึกรายการทางบัญชีเพียงหนึ่งรายการ ข้อมูลจะเชื่อมโยงทั้งโปรแกรมเพื่อพร้อมจัดทำรายงานทางการเงินทันทีโดยเจ้า หน้าที่ไม่ต้องจัดทำเพิ่มเติมต่างหาก
2. การออกใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารบางอย่างด้วยโปรแกรมทางบัญชีจะเชื่อมโยงไป ยังการบันทึกบัญชีและงบการเงินอย่างทันท่วงที ลดปัญหาการออกใบเสร็จรับเงินด้วยมือแล้วลืมบันทึกบัญชีในอดีต
3. สามารถตรวจสอบการบันทึกบัญชีและข้อมูลที่เชื่อมโยงกันได้ง่ายจากระบบ ลดเวลาในการค้นหาข้อมูลเมื่อเทียบกับการทำงานด้วยมนุษย์
4. โปรแกรมบางประเภทสามารถเตือนถึงข้อควรระวังที่อาจผิดพลาดจากการจัดทำข้อมูลทางบัญชีได้ เช่น การบันทึกตัวเลขที่สูงหรือต่ำเกินไป
5. รายงานทางบัญชีที่จัดทำโดยโปรแกรมสำเร็จรูปพร้อมพิมพ์อย่างทันท่วงทีเพียงกำหนดช่วงเวลาของข้อมูลที่ผู้ใช้ข้อมูลต้องการ
6. อื่นๆ
 
   ยังมีอีกร้อยแปดพันเก้าคุณสมบัติที่ผมคงสาธยายอย่างไรก็คงไม่หมด นอกจากคุณคงต้องไปค้นคว้าต่อด้วยตนเอง โปรแกรมสำเร็จรูปที่วางขายในท้องตลาดทั่วไป มีทั้งที่เป็นของคนไทยพัฒนาขึ้นมาและยังมีที่ข้ามน้ำข้ามทะเลมาจากต่าง ประเทศ ความแตกต่างแน่นอนละครับว่ามี เรื่องของลิขสิทธิ์ ราคา และฟังก์ชั่นก็แตกต่างกันอีกเช่นกัน แต่ที่เหมือนๆกันคือ ช่วยอำนวยความสะดวกได้อย่างมากในเรื่องต่างๆที่ผมได้กล่าวข้างต้น
   หากคุณเป็นผู้ประกอบการที่กิจการเริ่มขยายขึ้นเรื่อยๆ(และทำท่าว่าไปได้ดี) อาจถึงเวลาแล้วล่ะครับที่ต้องมองหาโปรแกรมทางบัญชีมาช่วยเหลือ แทนการจดบันทึกด้วยมือที่ทำอยู่ในปัจจุบัน อย่ามองว่าเรื่องของโปรแกรมทางบัญชีจะเหมาะเพียงแค่ธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้น เลยครับ จะอย่างไรเสียธุรกิจของคุณก็คงต้องดำเนินไปอีกนานแสนนานถ้าไม่ประสบปัญหาใดๆ เสียก่อน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็ก กลาง ย่อม หรือใหญ่ข้อมูลทางบัญชีที่จัดว่าสำคัญนี้ก็ควรถูกจัดเก็บอย่างเป็นระบบและ จัดทำด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปอันชาญฉลาดเหล่านี้น่าจะเป็นเรื่องที่ควรทำเป็น อย่างยิ่ง

นักบัญชี กับความนิยมเรียน "เอ็มบีเอ"

   ก่อน หน้านี้ ผมได้เขียนเรื่อง "เรียนวิชาบัญชีมีประโยชน์" ใน นสพ.เดลินิวส์ ทำให้นึกย้อนกลับไปเรื่องที่ได้ทำผ่านมากว่าสามสิบปี คือ ขณะเป็นคณบดีได้รับเชิญจาก "ชมรมบัญชีบริหาร" ให้ผมไปพูดถึงเรื่อง "โอกาสที่นักบัญชีจะเป็นนักบริหาร"
สะท้อนถึงความสำคัญและการสนใจในทักษะกับวิชาการจัดการต่างๆ โดยนักบัญชีโดยตรง
ทั้ง นี้ เป้าหมายของนักบัญชีที่เก่งและมีงานดีอยู่แล้วในสมัยนั้น ก็คือ การอยากได้รับการโอกาสเลื่อนตำแหน่งขึ้นไปเป็นนักบริหารระดับสูงหรือซีอีโอ นั่นเอง
แต่ บนเส้นทางการทำงานที่เติบโตนั้น แม้นักบัญชีจะเก่งกับทำงานหนัก มีผลงานเด่นก็ตาม แต่ก็มักมีข้อจำกัดทำให้ไม่ได้ขึ้นตำแหน่งนักบริหารระดับสูงอย่างที่ต้องการ
สาเหตุ ที่ก้าวโตได้ช้าและไปได้น้อยมากนั้น สาเหตุเพราะสภาพงานที่ต้องจมอยู่กับงานภายใน ทำให้ขาดโอกาสสัมผัสกับภายนอก ที่มีสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ทำให้ทัศนภาพ การมองถูกจำกัดแคบกว่าที่ควร อีกทั้งงานบัญชีเป็นงานหนัก ทำให้ไม่อาจมีเวลาไปเข้าสังคม หรือไปหาความรู้รอบตัวอื่นๆ หรือรอบรู้ถึงพัฒนาการของวิชาการ หรือเหตุการณ์จริงใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น
ทำ ให้นักบริหารในสายงานบัญชีเกิดความกังวล หรือมีความไม่มั่นคงทางใจ ที่กลัวว่าตัวเองจะล้าสมัยตามไม่ทันโลก ทำให้พลาดโอกาสสำคัญที่จะได้ขึ้นสู่หมายเลขหนึ่งขององค์การ
ปัญหา ใหญ่จึงอยู่การกลัวจะล้าสมัย "ความคิดแคบ" โดยไม่เปิดกว้างและขาดการรับรู้สิ่งใหม่ๆ ทำให้วิธีคิดและการตัดสินใจติดอยู่กับข้อมูลเก่า กลายเป็นข้อเสียที่แก้ยาก ลามลึกไปถึงอุปนิสัยที่มั่นคงถาวร แก้ไขไม่ได้ เช่น การไม่มอบหมายงาน ซึ่งยิ่งทำให้ต้องจมปลักอยู่ในหล่มเก่า งานเสียหาย คนโตไม่ได้
แต่ อย่างไรก็ตาม ยังมีสาเหตุประการอื่นที่สำคัญยิ่งกว่า นั่นคือ ในสมัยนั้น (ช่วงประมาณปี พ.ศ. 2516) ในเมืองไทยได้มีการเริ่มสอน MBA หรือ ป.โท ทางบริหารธุรกิจขึ้น โดยเปลี่ยนไปใช้แนวคิดการสอนแบบอเมริกัน คือ การสอนเพื่อผลิต "นักบริหารมืออาชีพ" (Professional Manager) มากกว่าการสอนพาณิชยศาสตร์แบบเดิม เน้นพิธีการทำการค้า โดยการรับผู้เข้าเรียนจากสาขาวิชาต่างๆ ที่ไม่จำเป็นต้องจบบัญชี พาณิชยศาสตร์ หรือเศรษฐศาสตร์ เช่นแต่ก่อน
ทั้ง นี้ สองสถาบันที่สอน MBA เพื่อผลิตนักบริหาร คือ ธรรมศาสตร์กับนิด้า ต่างกันที่ธรรมศาสตร์ จัดสอนเป็นโครงการพิเศษนอกเวลาทำการ เพื่อผลิตนักบริหารที่ติดค้างอยู่ในระบบเศรษฐกิจการค้าแบบเก่า
เหตุ ที่เปลี่ยนเพราะมีแนวคิดใหม่ตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป คือ องค์กรเติบโต ขอบเขตงานขยายตัว ทำให้ต้องการนักบริหารคนใหม่ๆ ขึ้นมารับหน้าที่บริหารงานและหน่วยงานที่แยกตัวออกมา แต่ไม่อาจหาคนที่โตในสายงานต่างๆ มาเป็นนักบริหารได้
เพราะ คนเรียนเก่งของแต่ละสายอาชีพในสมัยนั้นส่วนใหญ่ต่างเรียนต่อยอด "สายตรง" ในอาชีพหรือเทคนิคที่เรียนมาในชั้นปริญญาตรี สอดคล้องกับงานทางเทคนิคที่เรียนมาก่อน เช่น วิศวกรรม เคมี หรือวิทยาศาสตร์ หรือเภสัชศาสตร์ ทำนองเดียวกับนักบัญชี ซึ่งต่างต้องถูกจำกัดให้ต้องโตได้เฉพาะในสายเทคนิคหรือวิชาชีพของตนเท่านั้น
ประจวบ เหมาะกับสภาพแวดล้อมการพัฒนาในไทย อุตสาหกรรมกำลังขยายตัวมากขึ้น เศรษฐกิจโตขึ้น ขณะที่มีการขยายงาน ทั้งหน่วยงานผลิตและขายมากมาย ตามหลังนโยบายส่งเสริมการลงทุน
ผล จึงปรากฏออกมา ว่า นักบริหารของหน่วยงานใหม่กับที่ขยายตัว เช่น โรงงานผลิต และงานการตลาด ต่างตกไปอยู่กับชาวต่างชาติที่มีภาษาดีที่ได้รับตำแหน่ง ตัดหน้าพนักงานอาวุโสของไทย ที่มักจมอยู่กับงานด้านเทคนิค และยังคงเป็นผู้ชำนาญด้านเทคนิควิศวกรรม เป็นนักบัญชี หรือเป็นเภสัชกร แทบทั้งสิ้น
ความ รู้และประสบการณ์ที่ขาดไป คือ ความรู้ทาง "บริหารจัดการ" ที่จะเข้ามาทำหน้าที่วิเคราะห์ปัญหาเชิงรวม และการตัดสินใจอย่างเป็นระบบ ซึ่งประสบการณ์และทักษะของนักบริหารที่ต้องสร้างขึ้นนั้น ไม่อาจรอเวลาได้ เพราะจะไม่ทันกาล
ดัง นั้น ด้วยระบบการผลิตหรือสร้างนักบริหารตามแบบของสหรัฐซึ่งใช้วิธีทางอ้อม โดยเรียนด้วยกรณีศึกษา หรือจำลองเรื่องคล้ายสถานการณ์จริง พร้อมกับการออกแบบหลักสูตร ให้เรียนรู้สิ่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับคนที่เป็นนักบริหารจะต้องรู้ ในทางทฤษฎี กับมุมมองการประยุกต์ตามสถานการณ์ นั่นคือ หลักสูตร MBA ที่ใช้สอนคนที่เป็นผู้ชำนาญการที่โตมาจากทุกสายงาน โดยจะมาจากสายไหนก็ได้ ทั้งนักบัญชี เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ หรือวิศวกรและอื่นๆ ให้เข้ามาเรียน จบแล้วก็จะเป็นนักบริหารได้ โดยมั่นใจว่าจะมีทั้งความรู้ทุกด้าน แบบรอบรู้ และรู้รอบตัว กับมีทักษะในการตัดสินใจ บังคับบัญชาคนและบริหารทั้งองค์กรอย่างเป็นระบบและกระบวนการได้
การ เปลี่ยนปรัชญาการสอนและหลักสูตรแบบข้างต้น ยิ่งทำให้โอกาสที่นักบัญชีถูกนักบริหารจากสายงานอื่นที่เรียน MBA แซงหน้าไปมากยิ่งขึ้นไปอีก
นั่น คือ สิ่งที่เป็นปัญหาใหญ่ติดค้างในใจของนักบัญชี ที่ได้ชื่อว่า เป็นผู้ควบคุมตำแหน่งใหญ่สุด หรือ Controller ในองค์กรมาก่อนที่ต้องมาถูกเบียดแย่งตำแหน่งไปโดยชาวต่างชาติ กับนักบริหารที่โตมาจากสายอื่น
แม้ จนถึงขณะนี้ ที่อาชีพนักบัญชีก็มีการขยายตัวดี มีการเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ มากวิชาไม่แพ้กลุ่มอื่นใดก็ตาม แต่ก็ยังคงเสียเปรียบ แม้โตเร็วขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ไม่ทันกาล เพราะยุคโลกาภิวัตน์สิ่งต่างๆ จะเปลี่ยนไว แปลกใหม่ ซับซ้อนหรือเงื่อนไขกับลักษณะปัญหากลับตาลปัตร จึงยิ่งเร่งรัดให้นักบัญชีอยากหันไปเรียนบริหารธุรกิจ เพื่อหนีงานบัญชีมากขึ้นไปอีก
แต่ แท้จริงแล้ว ปัจจัยอิทธิพลมากกว่า คือ ขณะพอใจกับการเรียนบัญชีและรู้ว่ามีคุณค่า และให้อาชีพที่ดีพอ แต่นักบัญชีและกลุ่มคนที่ชำนาญด้านเทคนิคนั้น ต่างจะมุ่งหาทางออก โดยมีทั้งการเข้าสังคมมากขึ้น กับหาโอกาสเข้าเรียน MBA เพื่อให้มีความพร้อมในการเป็นนักบริหารชั้นสูง
ทั้ง นี้ กรอบการผลิตนักบริหาร MBA จะมีส่วนสำคัญนี้ ซึ่งต้องมีการออกแบบเนื้อหาหลักสูตรในการเรียนวิชาการต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเป็นนักบริหาร ที่จะได้มีโลกทัศน์กว้างขึ้น ซึ่งจะประกอบด้วย
  ก) การเรียนวิชาต่างๆ เพื่อเข้าใจสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ คือ วิชาเศรษฐศาสตร์ ธุรกิจกับสภาพแวดล้อมและสังคม และกฎหมาย เป็นต้น
  ข) การศึกษากลุ่มวิชาแกน ที่จะให้ทุกคนมีความรู้ "หน้าที่งานหลัก" ของธุรกิจครบด้าน หรือ Business Functions เพื่อให้รู้ถึงงานหลักต่างๆ ของกระบวนการทำธุรกิจ ตั้งแต่การผลิต การตลาด การเงินและบัญชี การจัดการเรื่องทรัพยากรมนุษย์และอื่นๆ
  ค) การเรียนวิชาที่เป็นเครื่องมือช่วยต่อการวิเคราะห์ปัญหาและการตัดสินใจ เช่น คณิตศาสตร์หรือการวิเคราะห์เชิงปริมาณ สถิติกับการวิเคราะห์ทางบัญชี เป็นต้น
  ง) กลุ่มวิชาเอก สาขาต่างๆ เพื่อการเป็นผู้บริหารในสายงาน เช่น กลุ่มวิชาการเงิน การบริหารการตลาด การบริหารการผลิต หรือการบริหารทรัพยากรมนุษย์
  จ) การเรียนวิชากลุ่มการจัดการ เพื่อทักษะในการจัดการและการบูรณาการต่างๆ คือ องค์การและการบริหาร วิชาพฤติกรรมศาสตร์เพื่อการบริหารองค์การ และการจัดการกลยุทธ์
ทั้งนี้ ในส่วนนี้ผู้เรียนจะต้องรู้จักฝึกฝนการวิเคราะห์ทางเลือกในการตัดสินใจ พร้อมกับฝึกทักษะความกล้าในการที่จะตัดสินใจด้วย
สิ่ง สำคัญยิ่งกว่าหลักสูตร คือ วิธีการสอน ที่จะต้องให้ผู้เรียนเข้าใจความรู้ทั้งทางทฤษฎีและวิธีการประยุกต์ปฏิบัติ โดยมุ่งถึงสัมฤทธิ์คติที่จะได้ผลในทางปฏิบัติเป็นสำคัญ ซึ่งต้องอาศัย ปัจจัยสำคัญประการต่างๆ คือ
  ก) คณาจารย์ผู้สอนต้องเก่งความรู้และมีประสบการณ์ทำงานทางปฏิบัติ
  ข) การต้องมีผู้อำนวยการโครงการที่คล่องตัว ทันสมัยและเอาใจใส่
  ค) การต้องมีบรรยากาศ ความใกล้ชิดกับสังคมของโลกธุรกิจและเปิดกว้าง โดยมีเครือข่ายและสายสัมพันธ์ในโลกกว้างที่เป็นสากล
  ง) การส่งเสริมการทำงานเป็นทีม และสุดท้าย คือ การขยายโลกทัศน์การมองโลกและจัดการองค์กรและคนสู่ความสำเร็จ ซึ่งโดยประสบการณ์ส่วนตัว
ทางแก้ไข ทัศนภาพการมองปัญหาในขอบเขตที่แคบของนักบัญชี สามารถทำได้โดย
  ก) สนใจเรื่องประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ เพื่อการเข้าใจโลกยุคต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป
  ข) พฤติกรรมศาสตร์ ซึ่งจะทำให้อ่านใจคนได้ กับคิดกลยุทธ์ได้มากขึ้น
  ค) การตื่นตัว สนใจเรียนรู้นอกกรอบเดิม เพื่อขยายความเข้าใจสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัว เพื่อจะติดตามสิ่งที่เปลี่ยนไปได้ทุกขณะ

มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ

มาเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตกันเถอะ
 

               




ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต(Certified Public AccountantCPA) เป็นอีกอาชีพหนึ่งในวิชาชีพบัญชี ซึ่งมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี (ก.บช.) เป็นผู้กำกับดูแล ออกข้อบังคับ วางหลักเกณฑ์ต่างๆเพื่อควบคุมผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
-
การเตรียมตัวเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตควรต้องรู้ข้อบังคับของก.บช.ที่กำหนดไว้ว่าผู้ที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้ต้องมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ซึ่งข้อบังคับของ ก.บช. กำหนดไว้ว่า
-
ผู้ที่จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้นั้น ต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.เป็นผู้รับปริญญาทางการบัญชี หรือประกาศนียบัตรทางการบัญชี ซึ่งก.บช. เทียบว่าไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีทางการบัญชี
หรือเป็นผู้ได้รับปริญญา หรือประกาศนียบัตรไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีที่มีการศึกษาวิชาการบัญชีซึ่งทาง ก.บช.
เห็นสมควรให้เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
2.เคยปฎิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้ว โดยก.บช. เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้
3.มีอายุยี่สิบปีบริบูรณ์แล้ว
4.มีสัญชาติไทยหรือสัญชาติของต่างประเทศที่ยินยอมให้บุคคลสัญชาติไทยเป็นผู้สอบบัญชีในประเทศนั้นได้
5.ไม่เป็นผู้มีความประพฤติเสื่อมเสีย หรือบกพร่องในศีลธรรมอันดี
6.ไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีที่ ก.บช. เห็นว่าอาจนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติศักดิ์แห่งวิชาชีพ
7.ไม่เป็นบุคคลวิกลจริต หรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ และ
8.ไม่ประกอบอาชีพอย่างอื่นที่ไม่เหมาะสม หรือทำให้ขาดความเป็นอิสระในหน้าที่ผู้สอบบัญชี
-
* ในคุณสมบัติข้อ 2 เคยปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชีมาแล้วโดย ก.บช.เห็นว่าทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชี รับอนุญาตได้นั้นคือจะต้อง
-
1) ฝึกหัดงานสอบบัญชีเป็นเวลาต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 3 ปีบริบูรณ์ และมีเวลาฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง
ซึ่งการฝึกงานจะกระทำในระหว่างการศึกษาเพื่อรับปริญญาหรือหลังจากได้รับปริญญาแล้วก็ได้ แต่ถ้าฝึกหัดงานในระหว่าง การศึกษาจะเริ่มฝึกหัดงานหลังจากได้สอบผ่านวิชาการบัญชีตามที่ ก.บช. กำหนดไม่น้อยกว่า 4 รายวิชา และวิชาสอบบัญชี
ไม่น้อยกว่า 1 รายวิชา ซึ่งรวมทุกวิชาแล้ว ไม่น้อยกว่า 15 หน่วยกิต
-
วิชาการบัญชีที่ก.บช. กำหนดต้องศึกษาในหลักสูตรปริญญาตรีเพื่อเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตมีดังนี้
1. การบัญชีขั้นต้น/ชั้นต้นและการบัญชีขั้นกลาง/ชั้นกลาง 3 รายวิชา
2. การบัญชีขั้นสูง/ชั้นสูง 1 รายวิชา
3. การสอบบัญชี 1 รายวิชา
4. การบัญชีต้นทุน 1 รายวิชา
5. การภาษีอากร 1 รายวิชา
รวม 7 รายวิชา
-
ผู้ที่จะฝึกหัดงานสอบบัญชีจะต้องปฏิบัติดังนี้

    หาสำนักงานสอบบัญชีที่จะเข้าไปฝึกหัดงาน และควรตรวจสอบกับสำนักงาน ก.บช. ด้วยว่าผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ท่านเข้าฝึกหัดงานด้วยนั้นยังเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาต

    ให้ยื่นคำข้อแจ้งการฝึกหัดงานต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 2 ในทันทีที่เริ่มฝึกหัดงาน เพราะจะเริ่มนับระยะเวลา และจำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานในวันที่ยื่นแบบ ก.บช. 2

    ทุกรอบ 12 เดือนที่ฝึกหัดงานจะต้องรายงานผลการฝึกหัดงานต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 3 เช่น ฝึกหัดงานวันที่ 15 ก.ย.43 เมื่อถึงวันที่ 14 ก.ย.44 จะต้องรายงานผลการฝึกงาน ตามแบบ ก.บช.3

    ในระหว่างฝึกหัดงาน ถ้ามีเหตุใดๆ ก็ตามที่ทำให้ท่านต้องเปลี่ยนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่รับรองการฝึกหัดงานของท่าน จะต้องแจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. ตามแบบ ก.บช. 6 ภายใน 1 เดือน ถ้าแจ้งเลยกว่า 1 เดือน จะต้องเริ่มนับระยะเวลาและจำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานใหม่

    เมื่อฝึกหัดงานครบ 3 ปี และได้จำนวนชั่วโมงฝึกหัดงานไม่น้อยกว่า 3,000 ชั่วโมง ให้แจ้งต่อสำนักงาน ก.บช. เพื่อปิดการฝึกหัดงานตามแบบ ก.บช. 7

(2) ผ่านการทดสอบของคณะกรรมการทดสอบการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการสอบบัญชี วิชาที่ทดสอบมี 5 วิชาคือ

1.การบัญชี

2.การสอบบัญชี 1
3.การสอบบัญชี 2
4.กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพสอบบัญชี
5.การใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดทำและตรวจสอบบัญชี
-

    จะต้องสอบผ่านให้ได้ทั้ง 5 วิชา โดยมีคะแนนในแต่ละวิชาไม่น้อยกว่า 60 คะแนน ข้อสอบจะเป็นปรนัย 40 ข้อ (40 คะแนน) อัตนัย 3 ข้อ (60 คะแนน) เวลาสอบ 3 ชั่วโมงต่อ 1 วิชา วิชาที่สอบผ่านแล้ว สามารถเก็บผลคะแนนไว้ได้ไม่เกิน3 ปี นับแต่วันที่ผ่านการทดสอบ

    ก.บช. จะจัดสอบปีละ 3 ครั้ง คือ เดือนมิถุนายน กันยายน และธันวาคม ซึ่งจะสอบวันอาทิตย์ จะเปิดรับสมัครสอบก่อนถึงวันสอบ 2 เดือน โดยเดือนแรกจะเปิดรับสมัคร ส่วนเดือนที่สอง ก.บช. จะใช้พิจารณา คัดเลือกผู้สมัครที่จะมีสิทธิเข้าสอบ

    ผู้ที่ผ่านการฝึกหัดงานครบถ้วนตามเงื่อนไข และผ่านการทดสอบครบทั้ง 5 วิชา ให้ยื่นคำขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตต่อสำนักงาน ก.บช. เมื่อ ก.บช. ออกใบอนุญาตท่านก็จะเป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตได้อย่างสมศักดิ์ศรีด้วยความภาคภูมิ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบัญชี



              

การทำบัญชี
  เป็นการรวบรวมข้อมูล  แล้วนำไปจดบันทึกรายการธุรกิจที่เกิดขึ้นตามลำดับ เหตุการณ์  เพื่อใช้เป็นข้อมูลจัดทำงบการเงิน และรายงานประจำของผู้มีหน้าที่ทำบัญชี
                 ดังนั้น   การบัญชี  ( Accounting ) และการทำบัญชี  ( Book –  Keeping ) จึงแตกต่างกันกล่าวคือ
                 การบัญชี   เป็นวิชาการเกี่ยวกับการใช้ความคิดในการวางระบบบัญชี  เพื่อให้ผู้ทำบัญชีที่มีหน้าที่รวบรวมข้อมูล และทำรายงานประจำ ตามกฎและระเบียบปฏิบัติงาน  นอกจากนี้ ต้องจัดวางและประเมินผลระบบควบคุมภายใน
วิเคราะห์ตีความข้อมูล  ใช้ข้อมูลสถิติตัดสินใจวางแผนงานในอนาคตของหน่วยงาน  ผู้ปฏิบัติงานการบัญชี  เรียกว่า  “ Accountant ”
                 การทำบัญชี   เป็นงานประจำที่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของการบัญชี ซึ่งมีหน้าที่รวบรวมข้อมูลบันทึกรายการค้า
  จัดทำงบการเงิน และรายงานเกี่ยวกับงานประจำ ตามกฎและระเบียบวิธีปฏิบัติที่วางไว้  ผู้ทำบัญชี  จึงเรียกว่า  “ Book - Keeper ”
ความสำคัญของการทำบัญชี
                 ในสภาพเศรษฐกิจปัจจุบันผู้ประกอบธุรกิจ  ได้แก่  ผู้ประกอบการ  ผู้ลงทุน  ผู้ดำเนินการต้องควบคุมค่าใช้จ่ายต่าง ๆ
ซึ่งเป็นที่มาของสินทรัพย์เพื่อนำมาลงทุนและหาแหล่งเงินทุนอื่นจากการกู้ยืมหากเงินทุนไม่เพียงพอ   ทำให้ผู้ลงทุนจำเป็นต้องทราบถึง
สภาพกิจการว่า  มีสินทรัพย์  หนี้สินประเภทใดอยู่บ้าง และฐานะการเงินของกิจการเป็นอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารงานจะแสดง
ความสามารถในการบริหารกิจการ  ประเมินได้จากผลการดำเนินงานของธุรกิจ ทำให้มีกำไรมาก หรือน้อย  แหล่งข้อมูลที่จะบอกได้คือ
การทำบัญชี
และแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าและการเจริญเติบโตของธุรกิจโดยการสื่อสารข้อมูลความหมายทางด้านการเงินของธุรกิจ
ต่อสาธารณชน