Thursday, February 21, 2013

15สถาบันจับมือรวมพลัง ร่วมสร้างเครือข่ายวิจัยทางบัญชี

15สถาบันจับมือรวมพลัง ร่วมสร้างเครือข่ายวิจัยทางบัญชี 
     ปัจจุบันงานวิจัยมีความสำคัญและจำเป็นต่อสถาบันอุดมศึกษาเป็นอย่างยิ่ง เพราะการวิจัยเป็นพันธกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาในการสร้างองค์ความรู้ สิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน พร้อมการผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ตลอดจนเป็นพลัง ปัญญาของสังคม
     คณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เล็งเห็นถึงความสำคัญในงานวิจัยด้านบัญชี จึงจัดตั้งเครือข่ายวิจัยทางการบัญชีระหว่างสถาบันอุดมศึกษา เพื่อร่วมมือในการผลิตและเผยแพร่ผลงานวิจัยทางการบัญชีที่มีคุณภาพต่อวงการ การศึกษาโดยรวม
                                  
     ผศ.อัมพร เที่ยงตระกูล คณบดีคณะการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจ บัณฑิตย์ กล่าวว่า การก่อตั้งเครือข่ายงานวิจัยทางการบัญชี เพื่อต้องการสร้างความร่วมมือด้านงานวิจัยด้านบัญชีระหว่างสถาบันการศึกษา สำหรับการแลกเปลี่ยนข่าวสารการวิจัย รวมถึงการทำกิจกรรมงานวิจัยร่วมกัน และเผยแพร่ผลงานวิจัยด้านบัญชี เพื่อนำไปสู่การใช้ประโยชน์ในสังคม
     เครือข่ายวิจัยทางการบัญชีได้มีการริเริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ.2551 โดยการปรึกษากันระหว่าง ดร.ปรีเปรม นนทลีรักษ์ รองอธิการบดีฝ่ายแผนงานและพัฒนาองค์กร อดีตคณบดีคณะการบัญชี มหา วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ และรศ.ดร.ปพฤกษ์ อุตสาหะวาณิชกิจ คณบดีคณะการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม พร้อมทำบันทึกถึงมหาวิทยาลัยต่างๆ และมีการประชุมหารือร่วมกัน โดยจัดพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจ "การจัดตั้งเครือข่ายวิจัยทางการบัญชี" ขึ้นเมื่อปี 2552 ซึ่งมีมหาวิทยาลัยที่สนใจเข้าร่วมกันจัดตั้งเครือข่ายทางการบัญชีรวม 8 สถาบัน หลังจากได้ลงนามความร่วมมือกันนั้น ก็ได้มีมหาวิทยาลัยต่างๆ สนใจเข้าร่วมเครือข่ายวิจัยทางการบัญชีเพิ่มขึ้น จึงได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจ "การจัดตั้งเครือข่ายวิจัยทางการบัญชี" ฉบับ ที่ 2 ขึ้นเมื่อเดือนธ.ค.ที่ผ่านมา การร่วมมือกันระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในการ สร้างเครือข่ายงานวิจัยทางการบัญชี ทำให้นักศึกษาเกิดความมั่นใจในศักยภาพอาจารย์ผู้สอน
                                 
   "เพราะในปัจจุบันงานวิจัยด้านบัญชีที่มีอยู่นั้นค่อนข้างน้อยและไม่แพร่หลาย มากนัก ดังนั้นการร่วมมือกันก็เหมือนกับการระดมความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นงานวิจัยด้านการบัญชี และส่งเสริมให้คณาจารย์ผลิตงานวิจัยทางการบัญชีที่มีคุณภาพให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักศึกษาและสังคม"
   ในการลงนามความร่วมมือฉบับที่ 2 นั้น มีมหาวิทยาลัยเข้าร่วมลงนามทั้งสิ้น 16 สถาบัน คือ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพายัพ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง มหา วิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และวิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม
   นอกจากจะเป็นการจับมือร่วมกันสร้างความแข็งแกร่งทางวิชาการระหว่างสถาบัน แล้ว ยังเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างคณาจารย์ พร้อมแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านงานวิจัยการบัญชีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการ งานวิจัยและสังคมต่อไป

0 comments:

Post a Comment